วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2559

ระบบสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ระบบการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์          
         เทคโนโลยีคมนาคมและการสื่อสารนำมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการ ดำเนินงานทางธุรกิจโดยมีวัตถุประสงค์หลัก 4 ประการดังนี้
          1.  เพื่อการสื่อสารทางธุรกิจที่ดีขึ้น
          2.  เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
          3.  เพื่อการกระจายข้อมูลที่ดีขึ้น
          4.  เพื่อการจัดการกระบวนการธุรกิจที่สะดวกขึ้น  
UploadImage
องค์ประกอบของการสื่อสาร
          1.  ผู้ส่งข้อมูล (Sender) ทำหน้าที่ส่งข้อมูล
          2.  ผู้รับข้อมูล (Receiver) ทำหน้าที่รับข้อมูล
          3.  ข้อมูล (Data) ข้อมูลที่ผู้ส่งข้อมูลต้องการส่งไปยังผู้รับข้อมูล อาจอยู่ในรูปของข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว
          4.  สื่อนำข้อมูล (Medium) ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการขนถ่ายข้อมูล เช่น สายเคเบิล ใยแก้วนำแสง อากาศ
          5.  โปรโตคอล (Protocol) กฎหรือวิธีที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการสื่อสารข้อมูลในรูปแบบตามวิธีการสื่อสาร ที่ตกลง กันระหว่าง ผู้ส่งข้อมูล กับ ผู้รับข้อมูล
การใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร         
          การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ในยุคปัจจุบัน ได้ตะหนักถึง ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีคมนาคมและการสื่อสารมาช่วยงานเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน ซึ้งการประยุกต์เทคโนโลยีการสื่อสารในองค์การมีดังนี้
         ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-mail)  การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และพีดีเอ ส่งข้อความอิเล็กทรอนิกส์ไปยังบุคคลอื่น โดยการสื่อสารนี้บุคคลที่ทำการสื่อสารจะต้องมีชื่อและที่อยู่ในรูปแบบอีเมล์ แอดเดรส 
          โทรสาร (Facsimile หรือ Fax)   เป็นการส่งข้อมูล ซึ่งอาจเป็นข้อความที่เขียนขึ้นด้วยมือหรือการพิมพ์ รูปภาพ หรือกราฟต่างๆ จากเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่มีอุปกรณ์ที่เรียกว่าแฟกซ์-โมเด็มไปยังเครื่องรับโทรสาร การส่งข้อความในลักษณะนี้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและมีประสิทธิภาพสูงกว่าการ ส่งข้อมูลผ่านเครื่องโทรสารธรรมดา
วอยซ์เมล (Voice Mail)              
          เป็นการส่งข้อความเป็นเสียงพูดให้กลายเป็นข้อความอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ เครือข่ายการสื่อสารข้อความจะถูกบันทึกไว้ในอุปกรณ์บันทึกเสียงที่เรียกว่าว อยซ์เมล์บ็อกซ์ เมื่อผู้รับเปิดฟังข้อความดังกล่าวก็จะถูกแปลงกลับไปอยู่ในรูปแบบของเสียง พูดตามเดิม
การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ (Video Conferencing)              
          เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยการส่งภาพและเสียงจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง ในการใช้ Video Conferencing จะต้องมีอุปกรณ์สำหรับการบันทึกภาพและอุปกรณ์บันทึกเสียง โดยที่ภาพและเสียงที่ส่งไปนั้นอาจเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงประกอบได้ การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไป ประชุม
การระบุตำแหน่งด้วยดาวเทียม(Global Positioning Systems : GPSs)              
          เป็นระบบที่ใช้วิเคราะห์และระบุตำแหน่งของคน สัตว์ หรือสิ่งของที่เป็นเป้าหมายของระบบ การวิเคราะห์ตำแหน่งทำได้โดยใช้ดาวเทียมระบุตำแหน่ง ปัจจุบันมีการนำไปใช้ในระบบการเดินเรือ เครื่องบินและเริมพัฒนามาใช้เพื่อระบุตำแหน่งของรถยนต์ด้วย
กรุ๊ปแวร์(groupware)              
           เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของกลุ่มบุคคลให้สามารถทำงาน ร่วมกัน การใช้ทรัพยากรและสารสนเทศร่วมกันโดยผ่านระบบเครือข่าย
การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Fund Transfer : EFT)              
          ปัจจุบันผู้ใช้สามารถชำระค่าสินค้าและบริการโดยการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ จากบัญชีธนาคารที่ให้บริการโอนเงินอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทัน สมัย กิจกรรมที่ประยุกต์ใช้กันเป็นประจำ ได้แก่ การโอนเงินผ่านทางตู้ ATM
การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Data Interchange : EDI)              
          เป็นระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างองค์การ โดยใช้แบบฟอร์มของเองกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีรูปแบบมาตรฐานสากล เช่น การส่งใบสั่งสินค้า ใบส่งของ ใบเรียกเก็บเงิน                
 การระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ(RFID)          เป็นระบบระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ปัจจุบันมีการนำ RFID ไปประยุกต์ใช้งานหลากหลายประเภท เช่น ห่วงโซ่อุปทาน ระบบโลจิสติกส์การตรวจสอบฉลากยา การใช้ในฟาร์มเลี้ยงสุกร บัตรทางด่วน บัตรรถไฟฟ้าใต้ดิน ระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์  
UploadImage
ชนิดของสัญญาณข้อมูล
          1.  สัญญาณแอนะล็อก(Analog Signal)              
          เป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง มีลักษณะเป็นคลื่นไซน์ (Sine Wave) โดยที่แต่ละคลื่นจะมีความถี่และความเข้มของสัญญาณที่ต่างกัน เมื่อนำสัญญาณข้อมูลเหล่านี้มาผ่านอุปกรณ์รับสัญญาณและแปลงสัญญาณและแปลง สัญญาณก็จะได้ข้อมูลที่ต้องการ
เฮิรตซ์  (Hertz) คือหน่วยวัดความถี่ของสัญญาณข้อมูลแบบแอนะล็อก วิธีวัดความถี่จะนับจำนวนรอบของสัญญาณที่เกิดขึ้นภายใน 1 วินาที เช่น ความถี่ 60 Hz หมายถึง ใน 1 วินาที สัญญาณมีการเปลี่ยนแปลงระดับสัญญาณ 60 รอบ               
          2.  สัญญาณดิจิทัล(Digital Signal)              
          สัญญาณดิจิทัลเป็นสัญญาณแบบไม่ต่อเนื่อง รูปสัญญาณของสัญญาณมีความเปลี่ยนแปลงที่ไม่ปะติดปะต่ออย่างสัญญาณแอนะล็อก ในการสื่อสารด้วยสัญญาณดิจิทัล ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเลขฐานสอง (0และ1) จะถูกแทนด้วยสัญญาณดิจิทัล                 Bit Rate เป็นอัตราความเร็วในการส่งข้อมูลแบบดิจิทัล วิธีวัดความเร็วจะนับจำนวนบิตข้อมูลที่ส่งได้ในช่วงระยะเวลา 1 วินาที เช่น 14,400 bps หมายถึง มีความเร็วในการส่งข้อมูลจำนวน 14,4001 บิตในระยะเวลา 1 วินาที               
โมเด็ม(Modulator DEModulator หรือ Modem)                  
          โมเด็ม(Modem) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทัลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็น สัญญาณแอนะล็อก ความเร็วในการสื่อสารข้อมูลของโมเด็มวันเป็นบิตต่อวินาที (bit per second หรือ bps) ความเร็วของโมเด็มโดยทั่วไปมีความเร็วเป็น 56 กิโลบิตต่อวินาที
ทิศทางการส่งข้อมูล(Transmission Mode) สามารถจำแนกทิศทางการส่งข้อมูลได้ 3 รูปแบบ
          1.  การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว (Simplex Transmission)
          2.  การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางสลับกัน (Half-Duplex Transmission)
          3.  การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางพร้อมกัน (Full-Duplex Transmission)
ตัวกลางการสื่อสาร
          1.  สื่อนำข้อมูลแบบมีสาย(Wired Media)  สื่อข้อมูลแบบมีสายที่นิยมใช้มี 3 ชนิดดังนี้
               -  สายคู่บิดเกลียว (Twisted-Pair Cable)              
                  สายคู่บิดเกลียว เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า สายแต่ละเส้นมีลักษณะคล้ายสายไฟทั่วไป จำนวนสายจะมีเป็นคู่ เช่น 2 , 4 หรือ 6 เส้น แต่ละคู่จะมีพันบิดเกลียว การบิดเกลียวนี้จะช่วยลดสัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้นในการส่งข้อมูล ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ไกลกว่าปกติ
                -  สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)              
           สายโคแอกเชียล เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า มีความถี่ในการส่งข้อมูลประมาณ 100 MHz ถึง500 MHz สายโคแอกเชียลมีความมเร็วในการส่งข้อมูลและราคาสูงกว่าสายบิดเกลียว
                -  สายใยแก้วนำแสง(Optical Fiber Cable)              
          สายสัญญาณทำจากใยแก้วหรือสารนำแสงหุ้มด้วยวัสดุป้องกันแสง มีความเร็วในการส่งสูงกับความเร็วแสง สามารถใช้ในการส่งข้อมูลที่มีความถี่สูงได้ สัญญาณที่ส่งผ่านสายใยแก้วนำแสง คือ แสง และ สัญญาณรบกวนจากภายนอกมีเพียงอย่างเดียว คือ แสงจากภายนอก
          2.  สื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย(Wireless Media) การสื่อสารข้อมูลแบบไร้สาย จะใช้อากาศเป็นตัวกลางของการสื่อสาร เช่น
                - แสงอินฟราเรด (Infrared)  เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยใช้แสงอินฟราเรดเป็นสื่อกลาง การสื่อสารประเภทนี้นิยมใช้สำหรับการสือสารข้อมูลระยะใกล้ เช่น การสื่อการจากรีโมทคอนโทรลไปยังเครื่องรับวิทยุหรือโทรทัศน์
                -  สัญญาณวิทยุ (Radio Wave)  เป็นสื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย (Wireless Media) ที่มีการส่งข้อมูลเป็นสัญญาณคลื่อนวิทยุไปในอากาศไปยังตัวรับสัญญาณ
                -  ไมโครเวฟภาคพื้นดิน (Terrestrial Microwave) เป็นการสื่อสารไรสายอีกประเภทหนึ่ง การสื่อสารประเภทนี้จะมีเสาส่งสัญญาณไมโครเวฟที่อยู่ห่างๆ กัน ทำการส่งข้อมูลไปในอากาศไปยังเสารับข้อมูล
                -  การสื่อสารผ่านดาวเทียม (Satellite Communication)  เป็นการสื่อสารจากพื้นโลกที่มีการส่งสัญญาณข้อมูลไปยังดาวเทียม โดยดาวเทียมจะทำหน้าที่เป็นสถานีทวนสัญญาณ เพื่อจัดส่งสัญญาณต่อไปยังสถานีภาพพื้นดินอื่นๆ ระยะทางจะโลกถึงดาวเทียมประมาณ 22,000 ไมล์
หลักเกณฑ์การพิจารณาเลือกสื่อนำข้อมูล          1.  ราคา
          2.  ความเร็ว
          3.  ระยะทาง
          4.  สัญญาณรบกวนที่อาจจะเกิดขึ้น
          5.  ความปลอดภัยของข้อมูล
มาตรฐานเครื่อข่ายไร้สาย (Wireless Networking Protocols)          1. บลูทูธ (Bluetooth)
          2. ไวไฟ (Wi-Fi)
          3. ไว-แมกซ์ (Wi-MAX)

วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

เทคนิคการถ่ายกล้องวิดีโอ

       เนื่องจากในปัจจุบันมีกล้องวิดีโอจำนวนมาก และความสามารถที่แตกต่างกันไป แต่อยากจะแนะนำให้ซื้อกล้องที่เหมาะสมกับผู้ใช้จริงเพราะต่อให้คนที่ถ่ายถ่ายไม่เก่งแต่ใช้กล้องโดยไม่เทคนิคการถ่ายวิดีโอก็จะทำงานนั้นกลายเป็นขยะโดยปริยายและดังนั้นหัวข้อที่จะสัมภาษณ์ก็จะสัมภาษณ์หลักการเลือกซื้อและเทคนิคการถ่ายวิดีโอให้ผู้ชมประทับใจ

เทคนิคการเลือกซื้อกล้องวิดีโอควรดูจากอะไรบ้างคะ ???

        เทคนิคการถ่ายวิดีโอให้ผู้ชมรู้สึกประทับใจ

พี่วินัย :กล้องวิดีโอก็จะมีหลากหลาย มีหลายยี่ห้อหลายขนาดหลายชนิด ก็ต้องมาดูกันที่ความคมชัดว่ากล้องสามารถถ่ายด้วยความความชัดมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับความละเอียดของพิกเซล ถ้ากล้องตัวไหนมีความคมชัดสูงความละเอียดพิกเซลมาก ถ้าถ่ายออกมาก็จะได้รับความคมชัดที่สูง ซึ่งตอนนี้ก็เป็นระบบ ไฮเดฟ ฟินิชั่นกันหมดแล้ว ถ้าความคมชัดสูงแน่นอนราคาก็ต้องสูงไปด้วย เพราะฉะนั้นเวลาที่เราเลือกซื้อก็ต้องเลือกตามความเหมาะสมของงานที่นำไปใช้ ถ้าสมมุติเป็นงานถ่ายเล็กน้อยๆก็คงไม่ต้องซื้อกล้องขนาดที่ระดับอาฃีพต้องเป็นอาชีพก็ซึ่งกล้องที่มีความคมชัดพอสมควร แต่ในปัจจุบันส่วนมากก็เป็น High Definition ไปหมดแล้ว จะ hidelf มากน้อยขนาดไหนก็ขื้นอยู่กับคุณภาพของกล้องตัวนั้นๆ

พี่วินัย : ในกรณีที่เราจะถ่ายกล้อง ถ่ายวิดีโอให้ออกมาดี 1.ปรับไวท์บาล้าน ของแสงก่อน หมายความว่าปรับแสงให้สีถูกต้องตาม สายตาที่สายตาเรามองเห็น ถ้าเราไม่ปรับ White balance เวลาเราไปถ่ายสีจะเพี้ยน สีขาวอาจจะเป็นสีฟ้า ซึ่งมันจะไม่ตรงกับความเป็นจริง กระบวนการทำงานของ white balance ก็จะมีแต่ละตัวกล้อง พอปรับไวท์บาลานแล้ว ก็จะมาดูแสงที่เข้ามา ถ้าแสงเข้ามาในเฟรมของเรามากไปจะเรียกว่า Over รายละเอียดของภาพจะมองไม่เห็น ต้องวิธีการปรับสปีดชัดเตอร์ของกล้อง ให้เร็วขึ้น แสงจะได้เข้าในกล้องน้อยลง หรือปรับ F แคบ แสงจะเข้าได้น้อย ( ค่า f น้อย รูรับแสงจะกว้าง ค่า f มากรูรับแสงจะแคบ )ในกรณีกลับกันถ้าเราไปถ่ายในสถานที่ๆมืด ไม่ถึงกับมืดมาก หรือแสงสลัวๆ โดยที่เราไม่มีไฟไปช่วย เราสามารถปรับกล้องให้ช่วยในการรับแสงมากขึ้นโดยปรับ สปีตชัดเตอร์ให้ต่ำลง แสงก็จะเข้าได้มาก แต่มีข้อเสียคือภาพจะกลายเป็นเส้นจะทำให้ไม่เป็นธรรมชาติ คือปรับได้สองที่คือสปีตชัดเตอร์และ F สตอป วิธีการปรับแสงอีกอย่างก็คือยกเกนขึ้นมีสามระดับ low ต่ำ Medium กลาง High สูงก็ช่วยเพิ่มแสงได้เพิ่มขึ้นอีก 3 ระดับ เมื่อเราปรับไวท์บาล้านได้ และควบคุมแสงไม่ให้โอเว่อร์ ไม่ให้อันเดอร์ โดยการปรับสปีตชัดเตอร์หรือ f สตอปหรือเกรน 3 ระดับ HIGH MEDIUM LOW เมื่อควบคุมแสง สี ได้ ถ่ายภาพเป็นแบบไหน ถ้าถ่ายภาพคนเดียวจะจับขนาดของภาพก็ มี Long shot, Medium Shot, Close Up, Big Close up, Extreme Close Up, Extreme Long Shot ขึ้นอยู่กับว่าเราจะถ่าย จะต้องการภาพแบบไหน เราต้องมาดีไซน์ต้องมีทักษะมีการฝึกฝน และก็ขึ้นอยู่กับการ PAN ซ้าย ขวา ทิวอัพ ดาวน์หรือแทกกิ้ง เคลื่อนกล้องไปข้างหน้า ถอยกล้องออกมาข้างหลัง ดอลลี่ซึ่งจะมีเทคนิควิธีการอีกเยอะแยะมากมายที่จะทำให้ภาพออกมาน่าสนใจซึ่งจะต้องมีการเรียนรู้ ฝึกฝน ทำถูกทำผิดก็จะได้ประสบการณ์ ซึ่งมันต้องใช้เวลา

ที่มา : http://5500437-nan.blogspot.com/2013/05/10.html

เทคนิคการถ่ายวิดิโอสัมภาษณ์บุคคล

ใช้กล้อง 3 ตัว เป็นอย่างน้อย
1 ตัวหลัก รับภาพ พิธีกรโดยเฉพาะ
ตัวที่ 2 วางกลางรับภาพคลุมทั้งหมด และต้องเผื่อซอยเฟรมรับผู้ร่วม
ตัวที่ 3 รับผู้ร่วมรายการ หรือคนถูกสัมภาษณ์ และเผื่อเฟรมสำหรับผู้ร่วมอีกคน
อันนี้ในกรณ๊ ผู้ถูกสัมภาษณ์นั่งคู่กัน
ถ้านั่งแยกกัน กล้องใครกล้องมัน
อยู่กับสถานที่และพื้นที่ในการถ่ายทำ
ข้อควรระวังของการสัมภาษณ์นอกสถานที่ คือเรื่องเสียง


ที่มา : http://pantip.com/topic/31690482

วิธีการใช้ Movie Maker ในการทำ Teaser


1.คลิกที่ปุ่ม "เพิ่มวิดีโอ และรูปถ่าย" จากนั้นวิดีโอและรูปถ่ายที่เราต้องการ ในจำนวนไม่จำกัด



2.เลือกเพลง และวิธีการต่างๆ
    2.1 คลิกเพื่อเลือกเพลงสำหรับวิดีโอนี้
    2.2 คลิกเพื่อเพิ่มชื่อเรื่อง หรือหน้าว่างสำหรับใส่คำ หรือใส่สีให้สวยงาม
    2.3 คลิกเพื่อเพิ่ม คำอธิบายใต้รูปภาพ


3.เพิ่มฟังก์ชั่นสำหรับวิดีโอนี้
   3.1 เลือกช่วงการเปลี่ยนภาพในรูปแบบต่างๆ
   3.2 คลิกที่ปุ่ม "นำไปใช้ทั้งหมด" หมายถึง การที่เราเลือกฟัก์ชั่นการเปลี่ยนภาพนี้ทุกอัน (สำหรับกรณีที่มีหลายวิดีโอหรือหลายภาพ)
   3.3 คลิกเพื่อให้เวลาในการสไลด์



4.คลิกเพื่อกำหนดการเคลื่อนไหวของรูปภาพ เมื่อสไลด์มาถึง เช่น เลือ่นขึ้นบนเรื่อย ลงล่างเรื่อยๆ เป็นต้น


5.เลือกสีของวิดีโอ หรือรูปภาพตามที่เราต้องการ


6. เลือกเอฟเฟ็คขอวิดีโอ
   6.1 กดเมื่อต้องการปรับแต่งเสียง


7. แก้ไขวิดีโอ
   7.1 คลิกเพื่อกำหนดว่า ให้เสียงเบา หรือเพิ่มขึ้น
   7.2 คลิกเพื่อกำหนดความเร็วของวิดีโอ
   7.3 คลิกเมื่อต้องการ ตัด แต่งวิดีโอ (อื่นๆ)

8. บันทึก
   คลิกที่คำว่า File และเลือก บันทึกโครงการ แต่จะเป็นไฟล์ของ Movie Maker หากต้องการบันทึกเป็น Mp4 ให้กดที่ บันทุกภาพยนตร์ และคลิกคำว่าท "เหมาะสำหรับโครงการนี้"

ที่มา : http://supunsa-k.blogspot.com/2014/09/movie-maker-teaser.html

Teaser กับ Trailer ความเหมือนที่แตกต่าง

          1. Teaser ตรงตามความหมายของคำศัพท์คือ ยั่วเย้า ไม่จำเป็นว่าจะต้องตีกรอบไว้เฉพาะที่เป็นวีดีโอ ใบปิดหนังก็เรียก Teaser ได้  ในส่วนภาพเคลื่อนไหว ก็จะออกมาเป็นตัวอย่างหนังที่เป็นทีเซอร์ จะมีความยาวแบบสั้นๆครับ แค่นาทีหนึ่งบวกลบคงไม่เกิน30วินาที ซึ่งไม่ใช่กฏตายตัวแต่อย่างใด แล้วแต่ผู้ผลิต จุดประสงค์หลักๆ คือยั่วเย้าให้คนดูอยากติดตาม ที่สำคัญมันต้องสั้น ไม่ได้บอกรายละเอียดเกี่ยวกับตัวหนังมาก 
         2. Trailer (เทรลเลอร์) คล้ายกับ Teaser แต่ยาวกว่า จุดประสงค์เดียวกัน แต่ถ้า Teaser ทำยาว3-4นาที ก็ยังเรียก Trailer ไม่ได้อยู่ดีครับ ถ้าขาดองค์ประกอบทั้ง แนวเรื่อง, อารมณ์เรื่อง, พล็อตเรื่องคร่าวๆ , ฉากไฮไลท์ เอาง่ายๆคือบอกรายละเอียดมากกว่า Teaser  ในบรรดาหนังฮอลลิวูดส์ มี Trailer หนังที่ประสบความสำเร็จมากหลายเรื่อง อย่าง อิมพอสสิเบิล ที่ดึงคนดูอย่างถึงขีด http://www.youtube.com/watch?v=THVFkk-sEus   ที่มาของ trailer นั้น
ถ้าแปลก็ ผู้สะกดรอย ส่วนใหญ่คงเข้าใจว่าประมาณบอกคร่าวๆให้รู้ (ตำราม.รามยังใส่เลย) แต่ถ้าลองค้นประวัติคือ ในช่วงแรก Trailer จะฉายต่อท้ายหนัง แต่ภายหลังถึงเปลี่ยนมาฉายก่อนหนังจะเริ่ม (ส่วนใหญ่ถ่ายเสร็จแล้วจึงออก ส่วนTeaser จะออกตอนถ่ายหนังไม่เสร็จ) ดังนั้นคำนี้ จึงน่าจะมาจากความหมายเดิมของ Trailer อีกตัวที่แปลว่า "พ่วง" "ต่อท้าย" 


            ทีนี้มา Spot (สปอต) อันนี้ก็เหมือนสองอันแรก แต่มีความยาวสั้นลงมาอีกและมีข้อจำกัดค่อนข้างแน่นอน ไม่เกินนาที สำหรับโปรโมทตามสื่อ ด้วยค่าจ้างที่ต้องใช้เปิดและกำหนดเวลาของแต่ละสื่อจึงทำให้มันสั้นครับ แต่ถ้าถามว่าทำไมไม่พากันใช้ชื่อเรียกแบบสองตัวบน คำตอบง่ายๆครับ ตอนแรกผมก็ค้นอยู่นาน เออนั่นสิ ทำไมวะ !!  --- ก็ฝรั่งเขาเป็นคนเริ่มต้นทำมาก่อนครับ แล้ว Spot ในภาษาฝรั่งมันไม่มีใช้ศัพท์ในส่วนนี้ คนไทยและบางประเทศใช้เรียกกัน (เรื่องมันยาวไปหาค้นเอาครับ ) 

ที่มา : http://www.oknation.net/blog/poetman/2014/07/09/entry-1

การแก้ไขของการติดโซเชียล

การแก้ไข ของการติดโซเชียลเน็ตเวิร์ก
"จริงๆ แล้วชีวิตมันเป็นพลวัต มีความสมดุลอยู่ในตัว ถ้าให้จำกัดว่าการใช้โซเชี่ยลเน็ตเวิร์กมากไปคือเท่าไหร่ อันนี้ตอบไม่ได้ เพราะขึ้นอยู่กับความจำเป็นของแต่ละคน หากคุณทำงานเป็นผู้ดูแลเว็บ แน่นอนว่านั่นคืองานที่คุณต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการจ้องหน้าจอ คอมพิวเตอร์ แต่คุณได้รับมูลค่า ได้งาน ได้เงิน ได้ประโยชน์จากการใช้เทคโน โลยี
การแก้ ปัญหาง่ายที่สุด แต่กลับยากที่จะทำได้ คือเริ่มจากตัวเอง มีวินัยในการเล่น หยุดคือหยุด ฝึกให้เกิดการรับผิดชอบต่อหน้าที่หลัก มันอาจไม่ง่ายที่จะหักดิบ เลิกเล่น เลิกใช้
ลองเริ่มจากการมองหาความสัมพันธ์สดกับเพื่อน ครอบครัว หรือคนรอบข้าง หากไม่ได้เพราะอุปสรรคทางเวลา การเดินทาง ลองใช้สไกป์ (Skype) ที่สื่อสารแบบเห็นหน้าได้ยินเสียง ถ้าไม่มีก็ค่อยๆ ลดระดับความสดลง เป็นโทรศัพท์ ข้อความ และใช้โซเชี่ยลเน็ตเวิร์กในแบบของทางเลือกแทน
หากเริ่มที่ตัวเองไม่ได้ ครอบครัวและสังคมก็เป็นอีกหนึ่งแรงผลักสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานรัฐ และบริษัทเอกชนที่ให้บริการด้านเครือข่าย รวมถึงอุปกรณ์ซึ่งสัมพันธ์กับการใช้โซเชี่ยลเน็ตเวิร์ก เสนอไอเดียร่วมกันทำเป็นโฆษณาถ่ายทอดการใช้งานที่ถูกต้อง ให้ผู้ใช้ได้ซึมซับถึงทักษะความพอเหมาะพอควร
ไม่อยากให้ยัดเยียดว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเพราะเราไม่รู้ เป็นไปได้ไหมที่เราจะตั้งรับ ก่อนรอให้มันกลายเป็นปัญหาเรื้อรัง อาจทำเป็นหนังสือคู่มือประกอบการใช้งาน สื่อสารข้อดีข้อเสียแบบย้ำให้เห็นถึงผลที่ตามมา ถ้าร่วมมือกันก็สามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ ส่วนตัวไม่เคยต่อต้านเทคโนโลยี
"แต่เราต้องรู้เท่าทันโลก เทคโนโลยีมีไว้ใช้ ไม่ใช่ทำให้มนุษย์เสียคน" ดร.จิตรากล่าวทิ้งท้าย

ที่มา : https://www.facebook.com/Is1

ผลกระทบของการติดโซเชียล

ผลกระทบ ของการติดโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ก เมื่อสังคมกำลังขึ้นอยู่กับคำว่า "โซเชี่ยลเน็ตเวิร์ก"
"การใช้สังคมออนไลน์อย่างไม่ระวังหรือรู้เท่าทันภัยเงียบของมัน แน่นอนว่าคุณจะได้ของแถมเป็น 5 เสีย
"เสียเวลา" ถามว่าต้องเล่นขนาดไหนถึงจะรู้ว่าเรากำลังเสียเวลา เล่นจนเกรดตก จนการงานไม่คืบหน้า อันนี้คือเสียทั้งเวลา การเรียน และการทำงาน
"เสียสุขภาพ" คือประเภทที่เล่นต่อเนื่องจนนิ้วล็อก คอเคล็ด แสบตา อดนอน แต่ก็ยังฝืนเล่น ไม่ได้ทั้งมูลค่า แถมเสียเวลาและสุขภาพ กรณีที่เพิ่งเกิดไปไม่นานคือ ข่าวของหนุ่มใหญ่ชาวไทยที่เล่นเฟซบุ๊กไม่หลับไม่นอน จนเสียชีวิตปริศนาในห้องน้ำบนรถไฟ ก็เป็นอีกกรณีศึกษาที่เราควรให้ความสนใจ และเริ่มวางแผนรับมือกับอันตรายเหล่านี้
"เสียความสัมพันธ์" อันนี้ มีตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนจากทุกกลุ่มสังคม เป็นเพื่อนกันทั่วไป ถ้ามีเรื่องไม่เข้าใจก็จะเฉยไม่พูดกันในสังคมสด แต่แอบเตรียมคำพูดเจ็บแสบเอาไว้ประจานกันบนเฟซบุ๊ก ใช้อารมณ์ชั่ววูบเป็นที่ตั้ง เสียทั้งเพื่อน ความสัมพันธ์ และภาพพจน์ของตัวเอง เรียกได้ว่าเสียอย่างไม่น่าจะเสีย จากประสบการณ์ตรงของตนเองพบว่า มีปรากฏการณ์ใหม่เกิดขึ้นพร้อมกับโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ก นั่นคือ
การ ระบายออกทางพฤติกรรม จากนักศึกษาหญิงที่เรียบร้อย แต่โพสต์ข้อความหยาบคาย และรุนแรงลงบนเฟซบุ๊ก แม้จะมองว่ามันคือการปลดปล่อยทางอารมณ์ แต่โซเชี่ยลเน็ตเวิร์กคือพื้นที่สาธารณะซึ่งทุกคนเห็นได้หมด กลายเป็นความพลาดอย่างแรง เพราะสิ่งที่ตามมาคือคุณจะเสียเพื่อน และเสียภาพพจน์แน่ๆ
"เสียใจ" ซึ่งหากคุณรับเอาความเสียใจนั้นๆ จะโดยตั้งใจหรือไม่ มาปรับเปลี่ยนให้เป็นบทเรียนได้ มันก็จะเกิดประโยชน์ แต่ถ้ายังคงวนเวียนอยู่กับความผิดพลาดซ้ำซาก สิ่งที่คุณจะเสียแน่ๆ คือ
"เสียโอกาส" คนเรามี 24 ชั่วโมงเท่ากันทุกวัน แต่ผู้ที่ใช้ไปโดยเปล่าประโยชน์ เสียทั้งเวลา สุขภาพ ความสัมพันธ์ แถมยังเสียใจที่ต้องเสียโอกาส ซึ่งเรานั่นแหละเป็นคนเลือกเอง

ที่มา : https://www.facebook.com/Is1

คนไทยอ่านหนังสือเฉลี่ย 66 นาทีต่อวัน วัยโจ๋อ่านบนโซเชียลมากกว่า นสพ.

      เผยสถิติคนไทยอ่านเฉลี่ย 66 นาทีต่อวัน โดยเยาวชนใช้เวลาเฉลี่ยมากที่สุด 94 นาทีต่อวัน โดยวัยรุ่นอ่านข้อความในเฟซบุ๊ก ไลน์ อินสตาแกรม เป็นต้น มากกว่าหนังสือพิมพ์ ส่วนวัยทำงาน อ่านหนังสือพิมพ์มากกว่าโซเชียล สาเหตุที่คนไม่อ่านคือชอบดูทีวี...

      เมื่อวันที่ 30 มี.ค.2559 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 44 นายจรัญ หอมเทียนทอง นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สมาคมฯ ร่วมมือกับสำนักงานสถิติแห่งชาติ และ สำนักอุทยานการเรียนรู้ หรือ TK Park สำรวจการอ่านของประชากรไทย ทุก 2 ปี โดยได้สำรวจปี 2558 ซึ่งเป็นปีแรกที่รวมการอ่านข้อความในสื่อสังคมออนไลน์ เช่น เฟซบุ๊ก ไลน์ อินสตาแกรม ทวิตเตอร์ เอสเอ็มเอส และ อีเมล โดยสำรวจประชากรตัวอย่าง 55,920 ครัวเรือน พบว่า การอ่านของเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 6 ปี เมื่อเทียบกับปี 2556 พบว่าเด็กเล็กใช้เวลาอ่านนานขึ้น 7 นาที จาก 27 นาทีในปี 2556 เป็น 34 นาทีในปี 2558 แต่มีความถี่ในการอ่านลดลง เพราะผู้ใหญ่คิดว่าเด็กยังเล็กเกินไป และในปี 2558 พบว่าเด็กหญิงมีอัตราการอ่าน ร้อยละ 60.9 ซึ่งสูงกว่าเด็กชายที่อ่านร้อยละ 59.5



นายจรัญ หอมเทียนทอง นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย ร่วมมือกับสำนักงานสถิติแห่งชาติ และสำนักอุทยานการเรียนรู้ หรือ TK Park เผยผลสำรรวจการอ่านของคนไทยประจำปี 2558

นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย กล่าวต่อว่า ส่วนประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไป พบว่าอัตราการอ่านลดลงจากร้อยละ 81.8 ในปี 2556 เป็นร้อยละ 77.7 ในปี 2558 หรือลดลงร้อยละ 4.1 โดยลดลงทุกกลุ่มอายุ เนื่องจากปี 2556 กรุงเทพมหานครได้รับเลือกเป็นเมืองหนังสือโลก ทำให้ทุกภาคส่วนส่งเสริมการอ่านอย่างจริงจัง ทำให้อัตราการอ่านของประชากรปี 2556 สูงมากกว่าปกติ สำหรับประเภทของหนังสือที่อ่าน พบว่า อ่านหนังสือพิมพ์สูงสุด คือ ร้อยละ 67.3 รองลงมา คือ อ่านข้อความในสื่อสังคมออนไลน์ ร้อยละ 51.6 ส่วนประเภทของสื่อที่ทุกกลุ่มอายุนิยมอ่านมากที่สุด คือ รูปเล่มหนังสือหรือเอกสาร ร้อยละ 96.1 รองลงมา คือ สื่อสังคมออนไลน์ ร้อยละ 45.5 เว็บไซต์ ร้อยละ 17.5 ซึ่งเนื้อหาที่ผู้อ่านชอบอ่านมากที่สุด คือ ข่าว สารคดี และความรู้ทั่วไป ร้อยละ 48.5



ภาพรวมของสถิติการอ่านของเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี

นายจรัญ กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม คนที่มีวัยต่างกัน จะมีความสนใจเลือกประเภทหนังสือที่อ่านแตกต่างกัน โดยวัยเด็กอ่านแบบเรียน/ตำราตามหลักสูตร สูงสุดร้อยละ 96.6 รองลงมาคือ นวนิยาย/การ์ตูน/หนังสืออ่านเล่น ร้อยละ 66.2 วัยเยาวชน อ่านข้อความในสื่อสังคมออนไลน์ อาทิ เฟซบุ๊ก ไลน์ อินสตาแกรม เป็นต้น สูงสุดร้อยละ 83.3 รองลงมาคือ หนังสือพิมพ์ ร้อยละ 68.7 สำหรับวัยทำงาน อ่านหนังสือพิมพ์ ร้อยละ 79.9 รองลงมาคือข้อความในสื่อสังคมออนไลน์ ร้อยละ 54.6 วัยสูงอายุ อ่านหนังสือ เอกสารที่เกี่ยวกับศาสนา ร้อยละ 76.2 รองลงมาคือ หนังสือพิมพ์ ร้อยละ 59.8



สถิติการอ่านของคนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไป

นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์ฯ กล่าวด้วยว่า ส่วนเวลาเฉลี่ยที่ใช้อ่าน ในปี 2558 คิดเป็น 1 ชั่วโมง 6 นาที หรือ 66 นาทีต่อวัน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2556 ที่อ่านเฉลี่ย 37 นาทีต่อวัน โดยกลุ่มเยาวชนใช้เวลาอ่านมากที่สุด เฉลี่ย 1 ชั่วโมง 34 นาที หรือ 94 นาทีต่อวัน สาเหตุที่เพิ่มเพราะปี 2558 ได้เพิ่มการอ่านข้อความในสื่อสังคมออนไลน์ และจากการสำรวจพบผู้ไม่อ่านมีร้อยละ 22.3 โดยมีสาเหตุคือ ชอบดูโทรทัศน์มากที่สุด ร้อยละ 41.9 รองลงมาคือ ไม่มีเวลาอ่าน ร้อยละ 24.6 ไม่ชอบอ่าน ร้อยละ 24.8 อ่านหนังสือไม่ออก ร้อยละ 20.6 ตามลำดับ



สถิติการอ่านของวัยรุ่นไทยอายุ 15-24 ปี

สำหรับวิธีรณรงค์ให้คนรักการอ่านที่ดีที่สุดคือ ปลูกฝังให้รักการอ่านผ่านพ่อแม่ และครอบครัว รองลงมาคือ สถานศึกษารณรงค์ส่งเสริมการอ่าน รูปเล่มและเนื้อหาน่าสนใจ ส่งเสริมให้มีห้องสมุดเคลื่อนที่ และมีมุมอ่านหนังสือในชุมชน เป็นต้น.

ที่มา : http://www.thairath.co.th/content/598816

วัยรุ่นยุคใหม่เขาทำอะไรกัน

       อายุ วัยรุ่น 13-24 ปี เป็นวัยที่มีการเจริญเติบโต ไปสู่วุฒิภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากและรวดเร็ว อันจะมีผลต่อพฤติกรรมหลายด้าน ทั้งทางร่างกายและอารมณ์ การพัฒนาการทางร่างกาย วัยรุ่นเป็นวัยทีเจริญเติบโตทางร่างกายอย่างเต็มที่ วัยรุ่นชายจะมีกล้ามเนื้อเป็นมัดๆ บริเวณหน้าอก แขนและขา ส่วนวัยรุ่นหญิงจะเป็นสาวขึ้น คือเต้านมมีขนาดโตขึ้น ไขมันที่เพิ่มขึ้นจะทำให้รูปร่างทีทรวงทรง ทางด้านอารมณ์ อารมณ์วัยรุ่นเป็นอารมณ์ที่รุนแรงและเปลี่ยนแปลงง่าย ความขัดแย้งทางจิตใจของวัยรุ่นที่ต้องเผชิญที่ต้องเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทำให้เกิดความวิตกกังวล ความเครียด ความกลัว ปัญหาด้านการเรียน การเรียนต้องใช้สมาธิ ความอดทน ความรับผิดชอบ แต่วัยรุ่นบางส่วนเพลิดเพลินกับสิ่งเย้ายวนต่างๆ ทำให้ลดความสนใจในการเรียนและจะทำให้ปัญหาการเรียนรุนแรง หากวัยรุ่นนั้นมีปัญหาการเรียนเรื้อรังมาก่อน เช่น เรียนไม่เก่ง ไม่ถนัด โดนบังคับให้เรียน ปัญหาเรียนเพศ นับวันจะมีมากขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ความผิดปกติทางเพศในอดีตกลายเป็นเรื่องที่ยอมรับและเปิดเผยมากขึ้น เช่น การมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน การทำแท้งในวันเรียน ความเบี่ยงเบนทางเพศ ปัญหาแต่ละปัญหาหากไม่ได้รับการแก้ไขจะก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาการพนัน ปัญหาการฆ่าตัวตายเราจึงมักได้พบ ได้ยิน มีการกล่าวถึงวัยลุ่ยในปกติ ส่วนหนึ่งมีพฤติกรรมดังนี้
   1. รักสบาย ขี้เกียจ ขาดความกระตือรือร้น เฉื่อยชา 
   2. ฟุ่มเฟือย ใช้เงินเปลือง ไม่เห็นคุณค่าของเงินและของที่ได้มาง่ายๆ
   3. ดื้อเอาแต่ใจตัวเอง เห็นแก่ตัวไม่คำนึงถึงความรู้สึกผู้อื่น ไม่ฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
   4. ปัญหาทางเพศ เช่น การมีแฟนในวัยเรียน การมีเพื่อนต่างเพศที่ไม่เหมาะสม การมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน การทำแท้ง การตอกโรคทางเพศสัมพันธ์ ความเบี่ยงเบนทางเพศหรือรักร่วมเพศเป็นต้น
   5. การใช้โทรศัพท์ – อินเตอร์เน็ตนาน 
   6. เกเร ก้างร้าง รุนแรงทั้งกิริยา วาจา การกระทำ
   7. คิดแก้ไขปัญหาต่างๆ ไม่เป็นระบบ โดยทำได้บางส่วน ขาดการวางแผน ไม่รอบคอบ
   8. การใช้สารเสพติด ขาดการยับยั้งใจตันเอง ตามเพื่อน มีปัญหาทางจิตใจ อารมณ์ ปัญหาการเลี้ยงดู
   9. ไม่ตั้งใจเรียน หนีเรียน หนีออกจากบ้าน 
  10. ขาดความรับผิดชอบ ขาดระเบียบวินัย ไม่มีมารยาท ขาดการควบคุมตัวเอง หรือควบคุมตัวเองได้น้อย ใจร้อน ตามใจตัวเองมากเกินไป เรียกร้องความสนใจจากคนอื่น
   11. ขาดทักษะ ขาดประสบการณ์ ขาดไหวพริบ
   12. ขโมย พูดปลด
13. ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และวัยรุ่น ว้าเหว่ เหงา เบื่อหน่ายง่าย ขาดจุดมุ่งหมาย
14. มีข้อขัดแย้งสูง ไม่มั่นใจในตัวเอง อารมณ์หงุดหงิด ขึ้นๆ ลงๆ
15. การพนัน

   พฤติกรรมที่วัยรุ่นไทยชอบทำ พ.ศ. 2551 ที่นิยมทำกันมากที่สุด คือทำงานบ้าน เช่น กวาดบ้าน ถูบ้าน ล้างจาน รีดผ้า ซักผ้า ฯลฯ งานหลักๆ คือการอ่านหนังสือและทำการบ้านที่ทำเวลาเบื่อๆก็คือ เล่นกีฬา เล่นดนตรี ร้องเพลง เล่นเกมส์ เพื่อผ่อนคลายความเครียด ส่วนที่เที่ยวกลางคืน เที่ยวผับเที่ยวบาร์ก็เป็นบางโอกาส


เนื้อหาสาระ

จริยธรรมขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม คือ การทำความดี เพื่อได้รางวัลหรือได้รับคำชม และไม่ทำความชั่ว เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษ 
วัยรุ่นที่ถูกตามใจมาตั้งแต่เด็ก เอาแต่ใจตนเองขาดโอกาสรับผิดชอบสิ่งต่างๆด้วยเหตุผล วัยรุ่นมีพฤติกรรมเกเร ชอบฝ่าฝืนกฎระเบียบ ขัดคำสั่งผู้ปกครอง หรือหนีออกจากบ้าน ก้าวร้าวต่อผู้อื่นหรือสัตว์ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ข่มขู่ ใช้กำลังทะเลาะวิวาท ทารุณ ใช้อาวุธในการต่อสู้ และข่มขืนล่วงเกินทางเพศ มีความอดทนต่ำ หงุดหงิดง่าย ชอบชวนทะเลาะ ทำลายทรัพย์สิน เช่น วางเพลิง ทุบตู้โทรศัพท์ พูดปดและลักขโมย อาจพัฒนากลายเป็นอาชญากร หรือมีปัญหายาเสพติด อาการจะสังเกตได้จาก ไม่ค่อยตั้งใจเรียน ชอบพูดคำหยาบ ใจร้อน ขี้โมโห เวลาโกรธจะยั้งตัวเองไม่ค่อยได้ ทำให้มีเรื่องกันบ่อยๆ บางทีถึงชกต่อยกันบ่อย ความก้าวร้าวเกเรจะมากขึ้นเรื่อยๆ ผลการเรียนแย่ลง เพราะไม่ค่อยเข้าเรียน ผู้ปกครองอาจให้คำแนะนำที่ดีแก่วัยรุ่นและควรใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ เพราะอาจทำวัยรุ่นเกิดอาการน้อยใจ วัยรุ่นรู้สึกเจ็บปวดและน้อยอก น้อยใจมากก็คือ การที่ผู้ปกครองทำให้เขารู้สึกว่าคุณลำเอียง รักลูกไม่เท่ากัน ทั้ง ๆ ที่คุณเองก็อาจจะไม่ได้ตั้งใจ หรือคิดไปไม่ถึงด้วยซ้ำแต่การที่คุณชอบเอาลูก คนหนึ่งไปเปรียบเทียบว่าด้อย กว่าลูกอีกคนหนึ่ง
แม้ความคิดของวัยรุ่นจะไม่มั่นคง แต่ชีวิตส่วนนี้ก็เต็มไปด้วยความสนุกสนาน คนหนุ่มสาวเรียนรู้ ทั้งทางกีฬา, งานอดิเรก, ความสนใจต่าง ๆ และความหลงใหล และก้าวเดินไปในการศึกษาได้อย่างมากมาย 
อันที่จริงแล้ว วัยรุ่นในปัจจุบันต้องการพึ่งพาผู้ปกครองมากกว่าที่เคยเป็น พวกเขาต้องเผชิญกับทางเลือกมากมาย เช่น
- ฉันจะเรียนอาชีวะหรือเข้ามหาวิทยาลัยดี?
- จะเล่นกีฬาหรือทำงาน? 
- จะมีเพศสัมพันธ์หรืออดใจไว้ก่อน?
หากไม่ได้รับความช่วยเหลืออย่างเพียงพอจากผู้ปกครองที่อาจจะเกิดความสัมพันธ์ในครอบครัวที่ลดลงไป การรักษาความใกล้ชิดกันนั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก ผู้ปกครองมักจะพูดว่าเวลาคุยกันแล้วก็มักจะกลายเป็นการโต้เถียงเสมอ จงหนักแน่นเข้าไว้เวลาคุยกันในเรื่องที่เด็กสนใจมากที่สุด
วัยรุ่นกับสุรามักเป็นของคู่กันที่แย่อยู่เสมอ วัยรุ่นที่ดื่มสุราจะทำสิ่งที่ไม่ยั้งคิด และการได้รับแอลกอฮอล์ในวัยเด็กก็เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคพิษสุนัขเรื้อรัง
การเลี้ยงดูวัยรุ่นเป็นเรื่องเครียดและละเอียดอ่อน แม้จะอยู่ในสถานการณ์ที่ดีที่สุดแล้วก็ตาม แต่สัญญาณอันตรายต่อไปนี้จะต้องทำให้ผู้ปกครองเฝ้าระแวดระวังให้มากยิ่งขึ้น


แผนภูมิแท่งแสดงกิจกรรมที่ทำเป็นประจำ



แหล่งที่มา..สำนักงานสถิติแห่งชาติ

จากแผนภูมิแท่งแสดงกิจกรรมของวัยรุ่นที่ทำเป็นประจำโดย อันดับหนึ่งเป็นการทำการบ้าน รองลงมาเป็นการอ่านหนังสือและเล่นกีฬาตามลำดับ ส่วนกิจกรรมที่เป็นพฤติกรรมเสี่ยงมีปริมาณน้อยมากจึงอาจจะไม่ส่งผลที่เป็นสัญญาณอันตรายแก่สังคมเพราะเด็กละเยาวชนส่วนใหญ่มีกิจกรรมเวลาว่างที่เป็นประโยชน์

แผนภูมิกราฟเส้นแสดงกิจกรรมที่ทำบางครั้ง



แหล่งที่มา..สำนักงานสถิติแห่งชาติ

แผนภูมิเส้นแดงกิจกรรมที่วัยรุ่นทำเป็นบางครั้ง ซึ่งอันดับหนึ่งได้แก่ การนอนตื่นสาย รองลงมาคือการอ่านหนังสือและการเล่นกีฬาตามลำดับ เป็นปรากฏการณ์ที่เป็นบวกเพราะวัยรุ่นส่วนใหญ่เห็นความสำคัญในการอ่านหนังสือและรู้จักใช้เวลาว่างที่เป็นประโยชน์

แผนภูมิวงกลมแสดงกิจกรรมที่ไม่ทำ



แหล่งที่มา..สำนักงานสถิติแห่งชาติ

แผนภูมิวงกลมแสดงกิจกรรมที่ไม่ทำ การเล่นการพนันเป็นอันดับหนึ่งที่วัยรุ่นไม่นิยมทำรองลงมาเป็นเที่ยวผับ และเที่ยวกลางคืน ซึ่งกิจกรรมที่ส่งผลด้านลบวัยรุ่นมักไม่นิยมทำ ซึ่งเป็นผลดีในการพัฒนาประเทศเพราะรากฐานของสังคมมีคุณภาพใส่ใจการเรียน

แผนภูมิแท่งแสดงกิจกรรมทั้งหมดของวันรุ่น



แหล่งที่มา..สำนักงานสถิติแห่งชาติ

จากแผนภูมิแท่งแสดงกิจกรรมรวมของวัยรุ่นซึ่งอันดับหนึ่งเป็น การทำงานบ้าน อ่านหนังสือ เล่นกีฬา ร่วมกิจกรรม เล่นดนตรี/ร้องเพลง เป็นกิจกรรมที่สร้างสรรค์วัยรุ่นส่วนใหญ่รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์แต่การนอนตื่นสายก็มีปริมาณสูงควบคู่กับกิจกรรมเช่นกัน
กิจกรรมที่ส่งผลด้านลบเช่น เล่นการพนัน เที่ยวผับ เที่ยวกลางคืน เที่ยวเตร่ เล่นเกมคอมพิวเตอร์ มีปริมาณไม่มากนักแสดงว่าวัยรุ่น รู้จักผิดชอบชั่วดีใช้เวลาว่างเป็นประโยชน์ และใส่ใจการเรียน


สรุป

ปัจจุบันมีวัยรุ่นร้อยละ 86.7 ที่ทำงานบ้านโดยมีที่ทำเป็นประจำค่อนข้างสูง สำหรับการพักผ่อน พบว่าวัยรุ่นส่วนใหญ่ร้อยละ 85.5 ที่ใช่เวลาในการอ่านหนังสือ และร้อยละ 78.4 เล่นกีฬา รองลงมาคือร่วมกิจกรรมเสริมสร้างความรู้และเล่นดนตรี/ร้องเพลง ร้อยละ 66.6 และ 57.4 ตามลำดับ ส่วนการเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์มีน้อยกว่าครึ่ง ซึ่งผู้ที่เล่นเป็นประจำมีเพียง ร้อยละ 5.8 เท่านั้น
สำหรับพฤติกรรมที่น่าเป็นห่วงของวัยรุ่นสมัยนี้นั้นพบว่า วัยรุ่นที่นอนดึกตื่นสาย เที่ยวผับ เที่ยวกลางคืนและเที่ยวเตร่ เป็นประจำมีน้อยกว่า ร้อยละ 6 และพบว่าพฤติกรรมการเล่นพนัน/บอล เป็นประจำของวัยรุ่ยมีน้อยมาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าวัยรุ่นไทยในปัจจุบัน ยังมีจิตสำนึกที่ดี และไม่ทำตัวเป็นภาระหรือปัญหาของสังคม
ควรส่งเสริมกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัยของตน ปัจจุบันวัยรุ่นยุคใหม่หันมาเล่นกีฬาไม่พึงพายาเสพติด ทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ เช่น เล่นดนตรี เล่นกีฬา ศิลปะ ส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้ ทำให้วัยรุ่น ซึ่งถือว่าเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศในอนาคต เพราะพวกเขาเหล่านี้ก็คือผู้ใหญ่ที่จะขับเคลื่อนประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไป 

ที่มา : http://oumta.blogspot.com/2010/03/blog-post_03.html

ผลสำรวจชี้วัยรุ่นเวียดนามใช้เวลาว่างบนโลกอินเทอร์เน็ตมากกว่าโลกภายนอก


แฟ้มภาพเอเอฟพีวันที่ 17 ก.ย. 2556 เด็กวัยรุ่นชาวเวียดนามทดลองใช้งานสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตที่ร้านคอมพิวเตอร์ในศูนย์การค้าแห่งหนึ่งในกรุงฮานอย ผลการสำรวจเด็กนักเรียนในกรุงฮานอยและนครโฮจิมินห์ 400 คน พบว่า กลุ่มสำรวจใช้เวลาว่างส่วนใหญ่ไปกับการดูโทรทัศน์และเล่นอินเทอร์เน็ตมากกว่าเล่นกีฬาหรือร่วมกิจกรรมชุมชน และใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเล่นเกมมากกว่าใช้ในการศึกษา รวมทั้งโทรศัพท์มือถือเช่นกัน.-- Agence France-Presse/Hoang Dinh Nam.
        
เตื่อยแจ๋ - วัยรุ่นเวียดนามเผชิญกับความไม่สมดุลอย่างรุนแรงในการใช้เวลาสำหรับการศึกษา พักผ่อน และทำกิจกรรมสันทนาการ ซึ่งจากการสำรวจนักเรียน 400 คน ที่มีอายุระหว่าง 13-19 ปี ในกรุงฮานอย และนครโฮจิมินห์ พบว่ามี “ช่องว่างขนาดใหญ่” ในชีวิตของวัยรุ่นในเขตชุมชนเมือง และยังตอกย้ำถึงปัญหาที่น่าวิตกเกี่ยวกับแนวคิด ทัศนคติ และพฤติกรรมของวัยรุ่นกลุ่มนี้
       
       วัยรุ่นในกลุ่มสำรวจใช้เวลาส่วนใหญ่ในห้องเรียน และให้เวลาเพียงเล็กน้อยต่อการเล่นกีฬา หรือทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับชุมชน นอกเหนือจากเวลาเรียนแล้ว ร้อยละ 92 ของนักเรียนกลุ่มสำรวจระบุว่า พวกเขาต้องใช้เวลาเรียนพิเศษเพิ่มเติมที่บ้านครูอีก 2-3 วิชา ที่รวมทั้งวิชาคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ
       
       การสำรวจที่จัดทำขึ้นโดยบริษัทวิจัย TITA บริษัทที่ปรึกษาและวิจัยตลาดเวียดนาม ระบุว่า วัยรุ่นในเขตเมืองใช้เวลา 10.5 ชั่วโมงต่อวันไปกับการเรียนที่โรงเรียน ที่บ้าน และแม้แต่ที่บ้านของครูผู้สอน เด็กวัยรุ่นเหล่านี้มีเวลาเพียง 4 ชั่วโมงต่อวันสำหรับความบันเทิง ที่ส่วนใหญ่หมดไปกับการดูโทรทัศน์ เล่นอินเทอร์เน็ต เล่นเกม และแชตผ่านอีเมล หรือเว็บไซต์สังคมออนไลน์
       
       ในช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อน เด็กวัยรุ่นกลุ่มนี้ใช้เวลาส่วนมากอยู่บนเตียง และใช้เวลามากขึ้นกับโทรทัศน์ และคอมพิวเตอร์เป็น 6 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งพวกเขายอมรับว่า ใช้คอมพิวเตอร์เล่นเกมมากกว่าใช้เพื่อการศึกษาหาความรู้ ส่วนโทรศัพท์มือถือก็ใช้เล่นเกมเช่นกัน
       
       ส่วนกีฬาที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตทางกายภาพ และจิตใจ กลุ่มสำรวจให้เวลาเพียงเล็กน้อยต่อกิจกรรมเหล่านี้
       
       ร้อยละ 70 ของนักเรียนที่ตอบแบบสำรวจ ระบุว่า พวกเขาไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมกีฬาของโรงเรียน และนักเรียนหญิงถึงร้อยละ 80 ระบุว่า ไม่เล่นกีฬาที่โรงเรียน ส่วนในช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อน มีเพียงร้อยละ 43 ที่ระบุว่าเล่นกีฬา ส่วนในกลุ่มนักเรียนหญิงลดลงเหลือเพียงร้อยละ 29
       
       อย่างไรก็ตาม วัยรุ่นส่วนใหญ่มีผลการเรียนดีในปีการศึกษา 2556-2557 โดยร้อยละ 85 ของนักเรียนที่ตอบแบบสำรวจมีผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ เรียนดี หรือค่อนข้างดี อย่างไรก็ตาม มีข้อเท็จจริงที่น่าสังเกตอย่างหนึ่งคือ นักเรียนมีผลการเรียนดีขึ้นหากใช้เวลากับการเรียนพิเศษที่บ้านของครูผู้สอนมากขึ้น
       
       ร้อยละ 20 ของนักเรียนในกลุ่มสำรวจมีทัศนคติทางลบต่อครูผู้สอนของตัวเอง โดยกล่าวโทษว่าครูสอนในห้องไม่เต็มที่เท่ากับที่เรียนพิเศษ และร้อยละ 46 ของวัยรุ่นระบุว่า ไม่รู้เส้นทางอาชีพในอนาคต และยังดูเหมือนว่านักเรียนหลายคนคิดว่าการเรียนเป็นหน้าที่มากกว่าความต้องการที่จะมีความรู้
       
       ฟาน กว่าง ตีง หัวหน้าผู้จัดทำการสำรวจยอมรับว่า ผู้ปกครอง และครูควรมุ่งให้ความช่วยเหลือนักเรียน สร้างแนวทางที่ถูกต้องต่อการศึกษา ผู้ปกครอง และครูจำเป็นที่จะต้องสนับสนุนวัยรุ่นในการค้นหาอาชีพที่พวกเขาให้ความสนใจ. 

ที่มา : http://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9570000108036

ปิดเทอมแล้ว เด็กทั่วโลกเขาทำอะไรกัน ??

         สวัสดีน้องๆทุกคนนะครับ ช่วงนี้หลายๆคนก็ปิดเทอมกันแล้ว และอยากหากิจกรรมยามว่างทำ วันนี้พี่ต้นซุงจะพาน้องๆไปดูเพื่อนๆนักเรียน นักศึกษาจากต่างประเทศกันว่า ในช่วงปิดเทอมเขาทำกิจกรรมอะไรกันบ้างครับ จะน่าสนใจขนาดไหน ลองดูจาก 8 กิจกรรมที่พี่ต้นเลือกมานำเสนอในวันนี้ดูนะครับว่าจะน่าสนใจแค่ไหน ไปดูกันเลย
1. อาสาสมัคร (Volunteer)
     กิจกรรมอาสาสมัคร เป็นกิจกรรมยามว่างของเด็กนักเรียน High School และ ระดับ College ในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษครับ โดยส่วนใหญ่จะเป็นกิจกรรมการเป็นอาสาสมัครการช่วยเหลือคนด้อยโอกาส และการเป็นอาสาสมัครช่วยผู้ประสบภัยในต่างประเทศอีกด้วย 
2. ทำงานพิเศษ
งานพิเศษเป็นอีกกิจกรรมที่นอกจากจะได้เงินค่าขนมเพิ่มแล้ว ยังเป็นการออกกำลังกายเบาๆ การฝึกการทำงานในอนาคตและการสร้างวินัยในตนเองอีกด้วย นักเรียนและนักศึกษาจากอเมริกันชอบที่จะทำงานหารายได้พิเศษในช่วงวันหยุดยาวกันเป็นจำนวนมาก น้องๆคนไหนสนใจหารายได้พิเศษ การทำงานในช่วงที่ไม่ต้องเรียนหนังสือ เช่น ทำงานร้านอาหาร การรับงานเอกสารมาทำที่บ้าน งานเลี้ยงเด็ก ฯลฯ ก็เป็นอีกกิจกรรมที่ช่วยแบ่งเบาภาระครอบครัว และสามารถมีเงินเก็บไว้ใช้จ่ายส่วนตัวด้วยนะครับ
3. ท่องเที่ยว
 พักผ่อนหยุดยาวทั้งที นักศึกษาอเมริกันไม่ปล่อยเวลาให้ว่างเปล่าเป็นแน่ กิจกรรมอันตื่นเต้นอันดับต้นๆของนักศึกษาอเมริกันคงหนีไม่พ้นการไปเที่ยวในสถานที่ต่างๆทั้งในรัฐของตัวเองและต่างประเทศ โดยสถานที่พักร้อนราคาถูกที่สุดที่คนอเมริกัน โดยเฉพาะนักเรียนและนักศึกษาชอบไปกันนั้น U.S.News ได้จัดอันดับให้ อุทยานแห่งชาติเยลโลว์สโตน (Yellowstone National Park )  เป็นอันดับที่ 1 โดยเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของโลและแห่งแรกของสหรัฐอเมริกาที่มีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในรัฐไวโอมิง อีกทั้งยังเป็นอุทยานแห่งชาติที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีสัตว์ป่าที่น่าสนใจมากมาย ได้แก่ หมีกริสลี่ หมีดำ ควายป่าไบซัน กวางมูส กวางเอลค์ แพะภูเขา บิ๊กฮอร์น แมวปาและหมาป่าครับ
4. อาบแดด
การอาบแดดเป็นอีกกิจกรรมในช่วงพักร้อนของนักเรียน นักศึกษาต่างชาติ ส่วนใหญ่แล้วนักเรียนและนักศึกษาจะอาบแดดริมชายหาด หรือบริเวณลานกีฬาในมหาวิทยาลัยก็มี นอกจากจะได้ผ่อนคลายจากการเรียนแล้ว ยังได้สีผิวที่สวยงามต้อนรับเปิดเทอมให้เพื่อนๆในชั้นเรียนประหลาดใจอีกด้วย
5. เล่นกีฬา 

กิจกรรมอีกอย่างที่ทำได้ง่ายๆ และทุกเพศทุกวัย อีกทั้งยังได้ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อและทำให้ร่ายกายแข็งแรงอีกด้วย นักศึกษาจากทุกมหาวิทยาลัยในต่างประเทศก็มีชมรมกีฬาและกลุ่มกีฬาเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย อีกทั้งยังมีกิจกรรมด้านกีฬาในช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อนอีกด้วย
6. อ่านหนังสือ
การอ่านหนังสือเป็นกิจกรรมที่ทำกันได้ง่ายๆของนักเรียนทั่วโลก นอกจากช่วยเรื่องการฝึกสมาธิแล้ว ยังช่วยพัฒนาสมองได้อีกด้วย น้องๆลองเลือกอ่านหนังสือที่น้องๆสนใจดูนะครับ ไม่ว่าจะเป็น นิยาย หรือหนังสือเรียน ก็ช่วยให้เรามีกิจกรรมทำในยามว่างได้ทั้งนั้นครับ
7. แคมป์ฤดูร้อน (Summer Camp)
กิจกรรมการเข้าค่ายในช่วงฤดูร้อน เป็นอีกกิจกรรมที่นักศึกษาทุกชาติชอบทำกัน แต่อาจจะแตกต่างกันไปซักหน่อยตามแต่ละทวีป วัฒนธรรมและสภาพสังคมของนักเรียนในแต่ละประเทศ สำหรับนักเรียนอเมริกันแล้ว การตั้งแคมป์ในป่าถือได้ว่าเป็นกิจกรรมที่ตื่นเต้นและน่าค้นหาเป็นอย่างมาก ใครสนใจจะตั้งแคมป์ในป่า โดยเฉพาะป่าในประเทศไทยก็ควรปรึกษาผู้ปกครองและตรวจสอบกับเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติและวางแผนการเดินทางให้ดีๆด้วยครับ


8. นักเรียนแลกเปลี่ยน (Exchange Student)
กิจกรรมการเป็นนักเรียนแลกแปลี่ยนในวันหยุดยาวต่างมหาวิทยาลัยก็เป็นอีกกิจกรรมที่วัยรุ่นในสหรัฐอเมริกาและฝั่งยุโรปชอบทำกันมาก โดยจะแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและภาษายังมหาวิทยาลัยในประเทศแถบเอเชีย เช่น ในไทย ญี่ปุ่น เกาหลีและจีน น้องๆคนไทยคนไหนอยากแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมแบบนักเรียนอเมริกันหรือฝั่งยุโรปในช่วงปิดเทอม มหาวิทยาลัยในไทยหลายแห่งมีโครงการแลกเปลี่ยนตรงนี้อยู่ สามารถสอบถามได้จากฝ่ายกิจกรรมของมหาวิทยาลัยของน้องๆได้ครับ
            เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับ 8 กิจกรรมยามว่างในช่วงปิดเทอมของเพื่อนนักเรียน นักศึกษาต่างประเทศ จะใกล้เคียงกับกิจกรรมที่น้องๆทำกันอยู่ในช่วงปิดเทอมในประเทศไทยหรือเปล่าครับ ถ้าน้องๆคนไหนทำอยู่แล้วก็ถือได้ว่าอินเทรนด์ไม่แพ้เพื่อนๆจากต่างชาติเลยนะครับ และถ้าน้องๆคนไหนสนใจทำกิจกรรมทั้ง 8 กิจกรรมข้างต้นที่พี่ต้นซุงแนะนำมาก็อย่ารีรอที่จะชวนเพื่อนๆมาสนุกกันได้เลยในช่วงปิดเทอมครับ

ที่มา : https://blog.eduzones.com/tonsungsook/84402

วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2559

หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็นหน่วยหลักๆ ดังนี้




1. หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
                หน่วยรับข้อมูล
 คือ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลรับข้อมูลหรือคำสั่งจากผู้ใช้เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยแปลงข้อมูลหรือคำสั่ง นั้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทำการประมวลผลต่อไป

      อุปกรณ์รับข้อมูล ได้แก่

2. หน่วยประมวลผลกลาง(Central Processing Unit : CPU)
                หน่วยประมวลผลกลาง คือ
 ส่วนที่ทำหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งที่รับมาจากหน่วยรับข้อมูล และควบคุมการปฏิบัติงานของเครื่องคอมพิวเตอร์

          หน่วยประมวลผลกลางประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ
                หน่วยควบคุม (Control Unit)   ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบทั้งหมด ให้ทำงานอย่างถูกต้อง
                หน่วยคำนวณ (Arithmetic Logic Unit) ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลทางคณิตศาสตร์และทางตรรกะ เช่น การคำนวณทาง คณิตศาสตร์  ได้แก่  การบวก ลบ คูณ หาร
                  -   การกระทำทางตรรกะ (AND , OR) 
                  -   การเปรียบเทียบ  เช่น การเปรียบเทียบค่าของข้อมูล 2 ตัวว่ามีค่าเท่ากัน  มากกว่า  หรือน้อยกว่า  
     ไม่ว่าข้อมูลจะเป็นตัวเลข หรือตัวอักษรก้สามารถเปรียบเทียบได้
                  -   การเลื่อนข้อมูล (Shift)
                  -   การเพิ่มและการลด (Increment and Decrement)
                  -   การตรวจสอบบิท (Test  Bit)

3. หน่วยความจำหลัก(Main Memory)
                หน่วยความจำหลัก
  เป็นหน่วยความจำที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์  แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ 
                1. รอม (ROM : Read Only Memory)  เป็นหน่วยความจำหลักที่
                    -  ใช้บรรจุโปรแกรมสำคัญ ที่ใช้ในการสตาร์ทอัพเครื่อง
                    -  เก็บโปรแกรมคำสั่งไว้อย่างถาวร
                    -  ไม่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าเลี้ยง ข้อมูลก็จะยังคงอยู่
                    -  เขียนหรือบันทึกข้อมูลคำสั่งได้เพียงครั้งเดียว ในขั้นตอนการผลิตเครื่องจากโรงงาน ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้อีก
                    -  อ่านข้อมูลได้อย่างเดียว และการเข้าถึงข้อมูลเป็นแบบสุ่ม
                2. แรม (RAM : Random Access Memory) 
                    -  ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่รับเข้ามาจากหน่วยรับข้อมูล  เพื่อนำไปประมวลผล
                    -  ทำหน้าที่เก็บผลลัพธ์ที่ได้ขณะทำการประมวลผลซึ่งยังไม่ใช่ผลลัพธ์สุดท้าย   
                    -  ทำหน้าที่เก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลซึ่งเป็นผลลัพธ์สุดท้าย 
                    -  ทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งต่างๆ ขณะที่เรากำลังทำงานอยู่กับเครื่อง เพื่อใช้ในการประมวลผล 
                    -  เป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลหรือโปรแกรมไว้ชั่วคราว สร้างขึ้นเพื่อผู้ใช้โดยตรง 
                    -  สามารถอ่านหรือเขียนทับข้อมูลลงไปได้ตามต้องการ ถ้าไฟดับข้อมูลจะสูญหาย 
                    -  การเข้าถึงข้อมูลเป็นแบบสุ่ม

4. หน่วยความจำสำรอง (Secondary Memory)
                หน่วยความจำสำรอง
  เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อมูล และโปรแกรมที่ต้องการใช้งานในคราวต่อไปได้ ซึ่งสามารถบรรจุข้อมูล และโปรแกรมได้เป็นจำนวนมาก 

           อุปกรณ์ที่เป็นหน่วยความจำสำรอง ได้แก่
                จานแม่เหล็ก สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง (Direct Access)  ได้แก่  ฮาร์ดดิสก์ และฟล็อปปี้ดิสก์ 
                เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape)  สามารถบันทึกและเข้าถึงข้อมูลแบบเรียงลำดับ (Sequential Access) การบันทึกทำโดยสร้างสนามแม่เหล็กลงบนเนื้อเทป
                จานแสง (Optical Disk) เป็นสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูลได้ปริมาณมากสามารถอ่านและบันทึกข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์ เช่น CD-ROM  (Compact Disc Read-Only Memory) มีความจุข้อมูลสูงมาก ตั้งแต่ 650 เมกะไบท์ (MB) สามารถอ่านข้อมูลได้อย่างเดียว แก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้

5. หน่วยแสดงผล (Output Unit)
                หน่วยแสดงผล
 คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล    

          การแสดงผลลัพธ์
 แบ่งเป็น 2 แบบ
                การแสดงผลทางจอภาพ เรียกได้อีกอย่างว่าเป็น Soft Copy คือ จะแสดงผลลัพธ์ขณะที่มีกระแสไฟฟ้าอยู อุปกรณ์คือ จอภาพคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งภาพบนจอประกอบด้วยจุดหรือ pixel หลายๆ pixel สามารถแสดงผลความละเอียดได้หลายระดับ เช่น
640 * 480 จุด ,800 * 600 จุด , 1024 * 786 จุด
                การแสดงผลทางจอภาพ  หรือเรียกได้อีกอย่างว่าเป็น Hard Copy คือ สามารถแสดงผลลัพธ์คงทนอยู่นาน ไม่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าเลี้ยงอุปกรณ์ที่ใช้ คือ Printer

6. ทางเดินของระบบ (system bus)
                  การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ ถ้าเปรียบเทียบกับระบบโครงสร้างร่างกายของมนุษย์เราน่าจะเปรียบเทียบได้ง่าย และเห็นภาพชัดเจน เพราะอย่างน้อยคนเราส่วนใหญ่คงจะพอรู้ระบบโครงสร้างการทำงานของร่างกายของเราเองอยู่บ้างไม่มากก็น้อย ดังนั้นระบบการทำงานของบัสก็จะคล้ายกับเส้นเลือดในร่างกายของมนุษย์นั่นเอง สำหรับทำหน้าส่งถ่ายกระแสเลือดไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย ซึ่งกระแสเลือดในระบบคอมพิวเตอร์ก็ คือ
                ข้อมูล 
(Data) นั่นเองบัส คือ ทางเดิน หรือ ช่องทางระหว่างอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารภายในคอมพิวเตอร์ บัสที่ถูกเรียกเฉพาะตามวัตถุประสงค์การใช้งานมีตัวอย่างดังนี้          • Processor Bus
            • System Bus
            • Frontside or Gunning Transceiver Logic plus (GTL+) Bus
            • Main Memory Bus
            • Host Bus
            • Local Bus
            • Internal Bus
            • External Bus
 ส่วนประกอบของ System Bus มีดังนี้
           • Address Bus
           • Data Bus
           • Control Bus