วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

การแก้ไขของการติดโซเชียล

การแก้ไข ของการติดโซเชียลเน็ตเวิร์ก
"จริงๆ แล้วชีวิตมันเป็นพลวัต มีความสมดุลอยู่ในตัว ถ้าให้จำกัดว่าการใช้โซเชี่ยลเน็ตเวิร์กมากไปคือเท่าไหร่ อันนี้ตอบไม่ได้ เพราะขึ้นอยู่กับความจำเป็นของแต่ละคน หากคุณทำงานเป็นผู้ดูแลเว็บ แน่นอนว่านั่นคืองานที่คุณต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการจ้องหน้าจอ คอมพิวเตอร์ แต่คุณได้รับมูลค่า ได้งาน ได้เงิน ได้ประโยชน์จากการใช้เทคโน โลยี
การแก้ ปัญหาง่ายที่สุด แต่กลับยากที่จะทำได้ คือเริ่มจากตัวเอง มีวินัยในการเล่น หยุดคือหยุด ฝึกให้เกิดการรับผิดชอบต่อหน้าที่หลัก มันอาจไม่ง่ายที่จะหักดิบ เลิกเล่น เลิกใช้
ลองเริ่มจากการมองหาความสัมพันธ์สดกับเพื่อน ครอบครัว หรือคนรอบข้าง หากไม่ได้เพราะอุปสรรคทางเวลา การเดินทาง ลองใช้สไกป์ (Skype) ที่สื่อสารแบบเห็นหน้าได้ยินเสียง ถ้าไม่มีก็ค่อยๆ ลดระดับความสดลง เป็นโทรศัพท์ ข้อความ และใช้โซเชี่ยลเน็ตเวิร์กในแบบของทางเลือกแทน
หากเริ่มที่ตัวเองไม่ได้ ครอบครัวและสังคมก็เป็นอีกหนึ่งแรงผลักสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานรัฐ และบริษัทเอกชนที่ให้บริการด้านเครือข่าย รวมถึงอุปกรณ์ซึ่งสัมพันธ์กับการใช้โซเชี่ยลเน็ตเวิร์ก เสนอไอเดียร่วมกันทำเป็นโฆษณาถ่ายทอดการใช้งานที่ถูกต้อง ให้ผู้ใช้ได้ซึมซับถึงทักษะความพอเหมาะพอควร
ไม่อยากให้ยัดเยียดว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเพราะเราไม่รู้ เป็นไปได้ไหมที่เราจะตั้งรับ ก่อนรอให้มันกลายเป็นปัญหาเรื้อรัง อาจทำเป็นหนังสือคู่มือประกอบการใช้งาน สื่อสารข้อดีข้อเสียแบบย้ำให้เห็นถึงผลที่ตามมา ถ้าร่วมมือกันก็สามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ ส่วนตัวไม่เคยต่อต้านเทคโนโลยี
"แต่เราต้องรู้เท่าทันโลก เทคโนโลยีมีไว้ใช้ ไม่ใช่ทำให้มนุษย์เสียคน" ดร.จิตรากล่าวทิ้งท้าย

ที่มา : https://www.facebook.com/Is1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น