วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2559

ระบบสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ระบบการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์          
         เทคโนโลยีคมนาคมและการสื่อสารนำมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการ ดำเนินงานทางธุรกิจโดยมีวัตถุประสงค์หลัก 4 ประการดังนี้
          1.  เพื่อการสื่อสารทางธุรกิจที่ดีขึ้น
          2.  เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
          3.  เพื่อการกระจายข้อมูลที่ดีขึ้น
          4.  เพื่อการจัดการกระบวนการธุรกิจที่สะดวกขึ้น  
UploadImage
องค์ประกอบของการสื่อสาร
          1.  ผู้ส่งข้อมูล (Sender) ทำหน้าที่ส่งข้อมูล
          2.  ผู้รับข้อมูล (Receiver) ทำหน้าที่รับข้อมูล
          3.  ข้อมูล (Data) ข้อมูลที่ผู้ส่งข้อมูลต้องการส่งไปยังผู้รับข้อมูล อาจอยู่ในรูปของข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว
          4.  สื่อนำข้อมูล (Medium) ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการขนถ่ายข้อมูล เช่น สายเคเบิล ใยแก้วนำแสง อากาศ
          5.  โปรโตคอล (Protocol) กฎหรือวิธีที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการสื่อสารข้อมูลในรูปแบบตามวิธีการสื่อสาร ที่ตกลง กันระหว่าง ผู้ส่งข้อมูล กับ ผู้รับข้อมูล
การใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร         
          การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ในยุคปัจจุบัน ได้ตะหนักถึง ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีคมนาคมและการสื่อสารมาช่วยงานเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน ซึ้งการประยุกต์เทคโนโลยีการสื่อสารในองค์การมีดังนี้
         ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-mail)  การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และพีดีเอ ส่งข้อความอิเล็กทรอนิกส์ไปยังบุคคลอื่น โดยการสื่อสารนี้บุคคลที่ทำการสื่อสารจะต้องมีชื่อและที่อยู่ในรูปแบบอีเมล์ แอดเดรส 
          โทรสาร (Facsimile หรือ Fax)   เป็นการส่งข้อมูล ซึ่งอาจเป็นข้อความที่เขียนขึ้นด้วยมือหรือการพิมพ์ รูปภาพ หรือกราฟต่างๆ จากเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่มีอุปกรณ์ที่เรียกว่าแฟกซ์-โมเด็มไปยังเครื่องรับโทรสาร การส่งข้อความในลักษณะนี้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและมีประสิทธิภาพสูงกว่าการ ส่งข้อมูลผ่านเครื่องโทรสารธรรมดา
วอยซ์เมล (Voice Mail)              
          เป็นการส่งข้อความเป็นเสียงพูดให้กลายเป็นข้อความอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ เครือข่ายการสื่อสารข้อความจะถูกบันทึกไว้ในอุปกรณ์บันทึกเสียงที่เรียกว่าว อยซ์เมล์บ็อกซ์ เมื่อผู้รับเปิดฟังข้อความดังกล่าวก็จะถูกแปลงกลับไปอยู่ในรูปแบบของเสียง พูดตามเดิม
การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ (Video Conferencing)              
          เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยการส่งภาพและเสียงจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง ในการใช้ Video Conferencing จะต้องมีอุปกรณ์สำหรับการบันทึกภาพและอุปกรณ์บันทึกเสียง โดยที่ภาพและเสียงที่ส่งไปนั้นอาจเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงประกอบได้ การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไป ประชุม
การระบุตำแหน่งด้วยดาวเทียม(Global Positioning Systems : GPSs)              
          เป็นระบบที่ใช้วิเคราะห์และระบุตำแหน่งของคน สัตว์ หรือสิ่งของที่เป็นเป้าหมายของระบบ การวิเคราะห์ตำแหน่งทำได้โดยใช้ดาวเทียมระบุตำแหน่ง ปัจจุบันมีการนำไปใช้ในระบบการเดินเรือ เครื่องบินและเริมพัฒนามาใช้เพื่อระบุตำแหน่งของรถยนต์ด้วย
กรุ๊ปแวร์(groupware)              
           เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของกลุ่มบุคคลให้สามารถทำงาน ร่วมกัน การใช้ทรัพยากรและสารสนเทศร่วมกันโดยผ่านระบบเครือข่าย
การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Fund Transfer : EFT)              
          ปัจจุบันผู้ใช้สามารถชำระค่าสินค้าและบริการโดยการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ จากบัญชีธนาคารที่ให้บริการโอนเงินอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทัน สมัย กิจกรรมที่ประยุกต์ใช้กันเป็นประจำ ได้แก่ การโอนเงินผ่านทางตู้ ATM
การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Data Interchange : EDI)              
          เป็นระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างองค์การ โดยใช้แบบฟอร์มของเองกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีรูปแบบมาตรฐานสากล เช่น การส่งใบสั่งสินค้า ใบส่งของ ใบเรียกเก็บเงิน                
 การระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ(RFID)          เป็นระบบระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ปัจจุบันมีการนำ RFID ไปประยุกต์ใช้งานหลากหลายประเภท เช่น ห่วงโซ่อุปทาน ระบบโลจิสติกส์การตรวจสอบฉลากยา การใช้ในฟาร์มเลี้ยงสุกร บัตรทางด่วน บัตรรถไฟฟ้าใต้ดิน ระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์  
UploadImage
ชนิดของสัญญาณข้อมูล
          1.  สัญญาณแอนะล็อก(Analog Signal)              
          เป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง มีลักษณะเป็นคลื่นไซน์ (Sine Wave) โดยที่แต่ละคลื่นจะมีความถี่และความเข้มของสัญญาณที่ต่างกัน เมื่อนำสัญญาณข้อมูลเหล่านี้มาผ่านอุปกรณ์รับสัญญาณและแปลงสัญญาณและแปลง สัญญาณก็จะได้ข้อมูลที่ต้องการ
เฮิรตซ์  (Hertz) คือหน่วยวัดความถี่ของสัญญาณข้อมูลแบบแอนะล็อก วิธีวัดความถี่จะนับจำนวนรอบของสัญญาณที่เกิดขึ้นภายใน 1 วินาที เช่น ความถี่ 60 Hz หมายถึง ใน 1 วินาที สัญญาณมีการเปลี่ยนแปลงระดับสัญญาณ 60 รอบ               
          2.  สัญญาณดิจิทัล(Digital Signal)              
          สัญญาณดิจิทัลเป็นสัญญาณแบบไม่ต่อเนื่อง รูปสัญญาณของสัญญาณมีความเปลี่ยนแปลงที่ไม่ปะติดปะต่ออย่างสัญญาณแอนะล็อก ในการสื่อสารด้วยสัญญาณดิจิทัล ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเลขฐานสอง (0และ1) จะถูกแทนด้วยสัญญาณดิจิทัล                 Bit Rate เป็นอัตราความเร็วในการส่งข้อมูลแบบดิจิทัล วิธีวัดความเร็วจะนับจำนวนบิตข้อมูลที่ส่งได้ในช่วงระยะเวลา 1 วินาที เช่น 14,400 bps หมายถึง มีความเร็วในการส่งข้อมูลจำนวน 14,4001 บิตในระยะเวลา 1 วินาที               
โมเด็ม(Modulator DEModulator หรือ Modem)                  
          โมเด็ม(Modem) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทัลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็น สัญญาณแอนะล็อก ความเร็วในการสื่อสารข้อมูลของโมเด็มวันเป็นบิตต่อวินาที (bit per second หรือ bps) ความเร็วของโมเด็มโดยทั่วไปมีความเร็วเป็น 56 กิโลบิตต่อวินาที
ทิศทางการส่งข้อมูล(Transmission Mode) สามารถจำแนกทิศทางการส่งข้อมูลได้ 3 รูปแบบ
          1.  การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว (Simplex Transmission)
          2.  การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางสลับกัน (Half-Duplex Transmission)
          3.  การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางพร้อมกัน (Full-Duplex Transmission)
ตัวกลางการสื่อสาร
          1.  สื่อนำข้อมูลแบบมีสาย(Wired Media)  สื่อข้อมูลแบบมีสายที่นิยมใช้มี 3 ชนิดดังนี้
               -  สายคู่บิดเกลียว (Twisted-Pair Cable)              
                  สายคู่บิดเกลียว เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า สายแต่ละเส้นมีลักษณะคล้ายสายไฟทั่วไป จำนวนสายจะมีเป็นคู่ เช่น 2 , 4 หรือ 6 เส้น แต่ละคู่จะมีพันบิดเกลียว การบิดเกลียวนี้จะช่วยลดสัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้นในการส่งข้อมูล ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ไกลกว่าปกติ
                -  สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)              
           สายโคแอกเชียล เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า มีความถี่ในการส่งข้อมูลประมาณ 100 MHz ถึง500 MHz สายโคแอกเชียลมีความมเร็วในการส่งข้อมูลและราคาสูงกว่าสายบิดเกลียว
                -  สายใยแก้วนำแสง(Optical Fiber Cable)              
          สายสัญญาณทำจากใยแก้วหรือสารนำแสงหุ้มด้วยวัสดุป้องกันแสง มีความเร็วในการส่งสูงกับความเร็วแสง สามารถใช้ในการส่งข้อมูลที่มีความถี่สูงได้ สัญญาณที่ส่งผ่านสายใยแก้วนำแสง คือ แสง และ สัญญาณรบกวนจากภายนอกมีเพียงอย่างเดียว คือ แสงจากภายนอก
          2.  สื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย(Wireless Media) การสื่อสารข้อมูลแบบไร้สาย จะใช้อากาศเป็นตัวกลางของการสื่อสาร เช่น
                - แสงอินฟราเรด (Infrared)  เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยใช้แสงอินฟราเรดเป็นสื่อกลาง การสื่อสารประเภทนี้นิยมใช้สำหรับการสือสารข้อมูลระยะใกล้ เช่น การสื่อการจากรีโมทคอนโทรลไปยังเครื่องรับวิทยุหรือโทรทัศน์
                -  สัญญาณวิทยุ (Radio Wave)  เป็นสื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย (Wireless Media) ที่มีการส่งข้อมูลเป็นสัญญาณคลื่อนวิทยุไปในอากาศไปยังตัวรับสัญญาณ
                -  ไมโครเวฟภาคพื้นดิน (Terrestrial Microwave) เป็นการสื่อสารไรสายอีกประเภทหนึ่ง การสื่อสารประเภทนี้จะมีเสาส่งสัญญาณไมโครเวฟที่อยู่ห่างๆ กัน ทำการส่งข้อมูลไปในอากาศไปยังเสารับข้อมูล
                -  การสื่อสารผ่านดาวเทียม (Satellite Communication)  เป็นการสื่อสารจากพื้นโลกที่มีการส่งสัญญาณข้อมูลไปยังดาวเทียม โดยดาวเทียมจะทำหน้าที่เป็นสถานีทวนสัญญาณ เพื่อจัดส่งสัญญาณต่อไปยังสถานีภาพพื้นดินอื่นๆ ระยะทางจะโลกถึงดาวเทียมประมาณ 22,000 ไมล์
หลักเกณฑ์การพิจารณาเลือกสื่อนำข้อมูล          1.  ราคา
          2.  ความเร็ว
          3.  ระยะทาง
          4.  สัญญาณรบกวนที่อาจจะเกิดขึ้น
          5.  ความปลอดภัยของข้อมูล
มาตรฐานเครื่อข่ายไร้สาย (Wireless Networking Protocols)          1. บลูทูธ (Bluetooth)
          2. ไวไฟ (Wi-Fi)
          3. ไว-แมกซ์ (Wi-MAX)

วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

เทคนิคการถ่ายกล้องวิดีโอ

       เนื่องจากในปัจจุบันมีกล้องวิดีโอจำนวนมาก และความสามารถที่แตกต่างกันไป แต่อยากจะแนะนำให้ซื้อกล้องที่เหมาะสมกับผู้ใช้จริงเพราะต่อให้คนที่ถ่ายถ่ายไม่เก่งแต่ใช้กล้องโดยไม่เทคนิคการถ่ายวิดีโอก็จะทำงานนั้นกลายเป็นขยะโดยปริยายและดังนั้นหัวข้อที่จะสัมภาษณ์ก็จะสัมภาษณ์หลักการเลือกซื้อและเทคนิคการถ่ายวิดีโอให้ผู้ชมประทับใจ

เทคนิคการเลือกซื้อกล้องวิดีโอควรดูจากอะไรบ้างคะ ???

        เทคนิคการถ่ายวิดีโอให้ผู้ชมรู้สึกประทับใจ

พี่วินัย :กล้องวิดีโอก็จะมีหลากหลาย มีหลายยี่ห้อหลายขนาดหลายชนิด ก็ต้องมาดูกันที่ความคมชัดว่ากล้องสามารถถ่ายด้วยความความชัดมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับความละเอียดของพิกเซล ถ้ากล้องตัวไหนมีความคมชัดสูงความละเอียดพิกเซลมาก ถ้าถ่ายออกมาก็จะได้รับความคมชัดที่สูง ซึ่งตอนนี้ก็เป็นระบบ ไฮเดฟ ฟินิชั่นกันหมดแล้ว ถ้าความคมชัดสูงแน่นอนราคาก็ต้องสูงไปด้วย เพราะฉะนั้นเวลาที่เราเลือกซื้อก็ต้องเลือกตามความเหมาะสมของงานที่นำไปใช้ ถ้าสมมุติเป็นงานถ่ายเล็กน้อยๆก็คงไม่ต้องซื้อกล้องขนาดที่ระดับอาฃีพต้องเป็นอาชีพก็ซึ่งกล้องที่มีความคมชัดพอสมควร แต่ในปัจจุบันส่วนมากก็เป็น High Definition ไปหมดแล้ว จะ hidelf มากน้อยขนาดไหนก็ขื้นอยู่กับคุณภาพของกล้องตัวนั้นๆ

พี่วินัย : ในกรณีที่เราจะถ่ายกล้อง ถ่ายวิดีโอให้ออกมาดี 1.ปรับไวท์บาล้าน ของแสงก่อน หมายความว่าปรับแสงให้สีถูกต้องตาม สายตาที่สายตาเรามองเห็น ถ้าเราไม่ปรับ White balance เวลาเราไปถ่ายสีจะเพี้ยน สีขาวอาจจะเป็นสีฟ้า ซึ่งมันจะไม่ตรงกับความเป็นจริง กระบวนการทำงานของ white balance ก็จะมีแต่ละตัวกล้อง พอปรับไวท์บาลานแล้ว ก็จะมาดูแสงที่เข้ามา ถ้าแสงเข้ามาในเฟรมของเรามากไปจะเรียกว่า Over รายละเอียดของภาพจะมองไม่เห็น ต้องวิธีการปรับสปีดชัดเตอร์ของกล้อง ให้เร็วขึ้น แสงจะได้เข้าในกล้องน้อยลง หรือปรับ F แคบ แสงจะเข้าได้น้อย ( ค่า f น้อย รูรับแสงจะกว้าง ค่า f มากรูรับแสงจะแคบ )ในกรณีกลับกันถ้าเราไปถ่ายในสถานที่ๆมืด ไม่ถึงกับมืดมาก หรือแสงสลัวๆ โดยที่เราไม่มีไฟไปช่วย เราสามารถปรับกล้องให้ช่วยในการรับแสงมากขึ้นโดยปรับ สปีตชัดเตอร์ให้ต่ำลง แสงก็จะเข้าได้มาก แต่มีข้อเสียคือภาพจะกลายเป็นเส้นจะทำให้ไม่เป็นธรรมชาติ คือปรับได้สองที่คือสปีตชัดเตอร์และ F สตอป วิธีการปรับแสงอีกอย่างก็คือยกเกนขึ้นมีสามระดับ low ต่ำ Medium กลาง High สูงก็ช่วยเพิ่มแสงได้เพิ่มขึ้นอีก 3 ระดับ เมื่อเราปรับไวท์บาล้านได้ และควบคุมแสงไม่ให้โอเว่อร์ ไม่ให้อันเดอร์ โดยการปรับสปีตชัดเตอร์หรือ f สตอปหรือเกรน 3 ระดับ HIGH MEDIUM LOW เมื่อควบคุมแสง สี ได้ ถ่ายภาพเป็นแบบไหน ถ้าถ่ายภาพคนเดียวจะจับขนาดของภาพก็ มี Long shot, Medium Shot, Close Up, Big Close up, Extreme Close Up, Extreme Long Shot ขึ้นอยู่กับว่าเราจะถ่าย จะต้องการภาพแบบไหน เราต้องมาดีไซน์ต้องมีทักษะมีการฝึกฝน และก็ขึ้นอยู่กับการ PAN ซ้าย ขวา ทิวอัพ ดาวน์หรือแทกกิ้ง เคลื่อนกล้องไปข้างหน้า ถอยกล้องออกมาข้างหลัง ดอลลี่ซึ่งจะมีเทคนิควิธีการอีกเยอะแยะมากมายที่จะทำให้ภาพออกมาน่าสนใจซึ่งจะต้องมีการเรียนรู้ ฝึกฝน ทำถูกทำผิดก็จะได้ประสบการณ์ ซึ่งมันต้องใช้เวลา

ที่มา : http://5500437-nan.blogspot.com/2013/05/10.html

เทคนิคการถ่ายวิดิโอสัมภาษณ์บุคคล

ใช้กล้อง 3 ตัว เป็นอย่างน้อย
1 ตัวหลัก รับภาพ พิธีกรโดยเฉพาะ
ตัวที่ 2 วางกลางรับภาพคลุมทั้งหมด และต้องเผื่อซอยเฟรมรับผู้ร่วม
ตัวที่ 3 รับผู้ร่วมรายการ หรือคนถูกสัมภาษณ์ และเผื่อเฟรมสำหรับผู้ร่วมอีกคน
อันนี้ในกรณ๊ ผู้ถูกสัมภาษณ์นั่งคู่กัน
ถ้านั่งแยกกัน กล้องใครกล้องมัน
อยู่กับสถานที่และพื้นที่ในการถ่ายทำ
ข้อควรระวังของการสัมภาษณ์นอกสถานที่ คือเรื่องเสียง


ที่มา : http://pantip.com/topic/31690482

วิธีการใช้ Movie Maker ในการทำ Teaser


1.คลิกที่ปุ่ม "เพิ่มวิดีโอ และรูปถ่าย" จากนั้นวิดีโอและรูปถ่ายที่เราต้องการ ในจำนวนไม่จำกัด



2.เลือกเพลง และวิธีการต่างๆ
    2.1 คลิกเพื่อเลือกเพลงสำหรับวิดีโอนี้
    2.2 คลิกเพื่อเพิ่มชื่อเรื่อง หรือหน้าว่างสำหรับใส่คำ หรือใส่สีให้สวยงาม
    2.3 คลิกเพื่อเพิ่ม คำอธิบายใต้รูปภาพ


3.เพิ่มฟังก์ชั่นสำหรับวิดีโอนี้
   3.1 เลือกช่วงการเปลี่ยนภาพในรูปแบบต่างๆ
   3.2 คลิกที่ปุ่ม "นำไปใช้ทั้งหมด" หมายถึง การที่เราเลือกฟัก์ชั่นการเปลี่ยนภาพนี้ทุกอัน (สำหรับกรณีที่มีหลายวิดีโอหรือหลายภาพ)
   3.3 คลิกเพื่อให้เวลาในการสไลด์



4.คลิกเพื่อกำหนดการเคลื่อนไหวของรูปภาพ เมื่อสไลด์มาถึง เช่น เลือ่นขึ้นบนเรื่อย ลงล่างเรื่อยๆ เป็นต้น


5.เลือกสีของวิดีโอ หรือรูปภาพตามที่เราต้องการ


6. เลือกเอฟเฟ็คขอวิดีโอ
   6.1 กดเมื่อต้องการปรับแต่งเสียง


7. แก้ไขวิดีโอ
   7.1 คลิกเพื่อกำหนดว่า ให้เสียงเบา หรือเพิ่มขึ้น
   7.2 คลิกเพื่อกำหนดความเร็วของวิดีโอ
   7.3 คลิกเมื่อต้องการ ตัด แต่งวิดีโอ (อื่นๆ)

8. บันทึก
   คลิกที่คำว่า File และเลือก บันทึกโครงการ แต่จะเป็นไฟล์ของ Movie Maker หากต้องการบันทึกเป็น Mp4 ให้กดที่ บันทุกภาพยนตร์ และคลิกคำว่าท "เหมาะสำหรับโครงการนี้"

ที่มา : http://supunsa-k.blogspot.com/2014/09/movie-maker-teaser.html

Teaser กับ Trailer ความเหมือนที่แตกต่าง

          1. Teaser ตรงตามความหมายของคำศัพท์คือ ยั่วเย้า ไม่จำเป็นว่าจะต้องตีกรอบไว้เฉพาะที่เป็นวีดีโอ ใบปิดหนังก็เรียก Teaser ได้  ในส่วนภาพเคลื่อนไหว ก็จะออกมาเป็นตัวอย่างหนังที่เป็นทีเซอร์ จะมีความยาวแบบสั้นๆครับ แค่นาทีหนึ่งบวกลบคงไม่เกิน30วินาที ซึ่งไม่ใช่กฏตายตัวแต่อย่างใด แล้วแต่ผู้ผลิต จุดประสงค์หลักๆ คือยั่วเย้าให้คนดูอยากติดตาม ที่สำคัญมันต้องสั้น ไม่ได้บอกรายละเอียดเกี่ยวกับตัวหนังมาก 
         2. Trailer (เทรลเลอร์) คล้ายกับ Teaser แต่ยาวกว่า จุดประสงค์เดียวกัน แต่ถ้า Teaser ทำยาว3-4นาที ก็ยังเรียก Trailer ไม่ได้อยู่ดีครับ ถ้าขาดองค์ประกอบทั้ง แนวเรื่อง, อารมณ์เรื่อง, พล็อตเรื่องคร่าวๆ , ฉากไฮไลท์ เอาง่ายๆคือบอกรายละเอียดมากกว่า Teaser  ในบรรดาหนังฮอลลิวูดส์ มี Trailer หนังที่ประสบความสำเร็จมากหลายเรื่อง อย่าง อิมพอสสิเบิล ที่ดึงคนดูอย่างถึงขีด http://www.youtube.com/watch?v=THVFkk-sEus   ที่มาของ trailer นั้น
ถ้าแปลก็ ผู้สะกดรอย ส่วนใหญ่คงเข้าใจว่าประมาณบอกคร่าวๆให้รู้ (ตำราม.รามยังใส่เลย) แต่ถ้าลองค้นประวัติคือ ในช่วงแรก Trailer จะฉายต่อท้ายหนัง แต่ภายหลังถึงเปลี่ยนมาฉายก่อนหนังจะเริ่ม (ส่วนใหญ่ถ่ายเสร็จแล้วจึงออก ส่วนTeaser จะออกตอนถ่ายหนังไม่เสร็จ) ดังนั้นคำนี้ จึงน่าจะมาจากความหมายเดิมของ Trailer อีกตัวที่แปลว่า "พ่วง" "ต่อท้าย" 


            ทีนี้มา Spot (สปอต) อันนี้ก็เหมือนสองอันแรก แต่มีความยาวสั้นลงมาอีกและมีข้อจำกัดค่อนข้างแน่นอน ไม่เกินนาที สำหรับโปรโมทตามสื่อ ด้วยค่าจ้างที่ต้องใช้เปิดและกำหนดเวลาของแต่ละสื่อจึงทำให้มันสั้นครับ แต่ถ้าถามว่าทำไมไม่พากันใช้ชื่อเรียกแบบสองตัวบน คำตอบง่ายๆครับ ตอนแรกผมก็ค้นอยู่นาน เออนั่นสิ ทำไมวะ !!  --- ก็ฝรั่งเขาเป็นคนเริ่มต้นทำมาก่อนครับ แล้ว Spot ในภาษาฝรั่งมันไม่มีใช้ศัพท์ในส่วนนี้ คนไทยและบางประเทศใช้เรียกกัน (เรื่องมันยาวไปหาค้นเอาครับ ) 

ที่มา : http://www.oknation.net/blog/poetman/2014/07/09/entry-1

การแก้ไขของการติดโซเชียล

การแก้ไข ของการติดโซเชียลเน็ตเวิร์ก
"จริงๆ แล้วชีวิตมันเป็นพลวัต มีความสมดุลอยู่ในตัว ถ้าให้จำกัดว่าการใช้โซเชี่ยลเน็ตเวิร์กมากไปคือเท่าไหร่ อันนี้ตอบไม่ได้ เพราะขึ้นอยู่กับความจำเป็นของแต่ละคน หากคุณทำงานเป็นผู้ดูแลเว็บ แน่นอนว่านั่นคืองานที่คุณต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการจ้องหน้าจอ คอมพิวเตอร์ แต่คุณได้รับมูลค่า ได้งาน ได้เงิน ได้ประโยชน์จากการใช้เทคโน โลยี
การแก้ ปัญหาง่ายที่สุด แต่กลับยากที่จะทำได้ คือเริ่มจากตัวเอง มีวินัยในการเล่น หยุดคือหยุด ฝึกให้เกิดการรับผิดชอบต่อหน้าที่หลัก มันอาจไม่ง่ายที่จะหักดิบ เลิกเล่น เลิกใช้
ลองเริ่มจากการมองหาความสัมพันธ์สดกับเพื่อน ครอบครัว หรือคนรอบข้าง หากไม่ได้เพราะอุปสรรคทางเวลา การเดินทาง ลองใช้สไกป์ (Skype) ที่สื่อสารแบบเห็นหน้าได้ยินเสียง ถ้าไม่มีก็ค่อยๆ ลดระดับความสดลง เป็นโทรศัพท์ ข้อความ และใช้โซเชี่ยลเน็ตเวิร์กในแบบของทางเลือกแทน
หากเริ่มที่ตัวเองไม่ได้ ครอบครัวและสังคมก็เป็นอีกหนึ่งแรงผลักสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานรัฐ และบริษัทเอกชนที่ให้บริการด้านเครือข่าย รวมถึงอุปกรณ์ซึ่งสัมพันธ์กับการใช้โซเชี่ยลเน็ตเวิร์ก เสนอไอเดียร่วมกันทำเป็นโฆษณาถ่ายทอดการใช้งานที่ถูกต้อง ให้ผู้ใช้ได้ซึมซับถึงทักษะความพอเหมาะพอควร
ไม่อยากให้ยัดเยียดว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเพราะเราไม่รู้ เป็นไปได้ไหมที่เราจะตั้งรับ ก่อนรอให้มันกลายเป็นปัญหาเรื้อรัง อาจทำเป็นหนังสือคู่มือประกอบการใช้งาน สื่อสารข้อดีข้อเสียแบบย้ำให้เห็นถึงผลที่ตามมา ถ้าร่วมมือกันก็สามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ ส่วนตัวไม่เคยต่อต้านเทคโนโลยี
"แต่เราต้องรู้เท่าทันโลก เทคโนโลยีมีไว้ใช้ ไม่ใช่ทำให้มนุษย์เสียคน" ดร.จิตรากล่าวทิ้งท้าย

ที่มา : https://www.facebook.com/Is1

ผลกระทบของการติดโซเชียล

ผลกระทบ ของการติดโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ก เมื่อสังคมกำลังขึ้นอยู่กับคำว่า "โซเชี่ยลเน็ตเวิร์ก"
"การใช้สังคมออนไลน์อย่างไม่ระวังหรือรู้เท่าทันภัยเงียบของมัน แน่นอนว่าคุณจะได้ของแถมเป็น 5 เสีย
"เสียเวลา" ถามว่าต้องเล่นขนาดไหนถึงจะรู้ว่าเรากำลังเสียเวลา เล่นจนเกรดตก จนการงานไม่คืบหน้า อันนี้คือเสียทั้งเวลา การเรียน และการทำงาน
"เสียสุขภาพ" คือประเภทที่เล่นต่อเนื่องจนนิ้วล็อก คอเคล็ด แสบตา อดนอน แต่ก็ยังฝืนเล่น ไม่ได้ทั้งมูลค่า แถมเสียเวลาและสุขภาพ กรณีที่เพิ่งเกิดไปไม่นานคือ ข่าวของหนุ่มใหญ่ชาวไทยที่เล่นเฟซบุ๊กไม่หลับไม่นอน จนเสียชีวิตปริศนาในห้องน้ำบนรถไฟ ก็เป็นอีกกรณีศึกษาที่เราควรให้ความสนใจ และเริ่มวางแผนรับมือกับอันตรายเหล่านี้
"เสียความสัมพันธ์" อันนี้ มีตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนจากทุกกลุ่มสังคม เป็นเพื่อนกันทั่วไป ถ้ามีเรื่องไม่เข้าใจก็จะเฉยไม่พูดกันในสังคมสด แต่แอบเตรียมคำพูดเจ็บแสบเอาไว้ประจานกันบนเฟซบุ๊ก ใช้อารมณ์ชั่ววูบเป็นที่ตั้ง เสียทั้งเพื่อน ความสัมพันธ์ และภาพพจน์ของตัวเอง เรียกได้ว่าเสียอย่างไม่น่าจะเสีย จากประสบการณ์ตรงของตนเองพบว่า มีปรากฏการณ์ใหม่เกิดขึ้นพร้อมกับโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ก นั่นคือ
การ ระบายออกทางพฤติกรรม จากนักศึกษาหญิงที่เรียบร้อย แต่โพสต์ข้อความหยาบคาย และรุนแรงลงบนเฟซบุ๊ก แม้จะมองว่ามันคือการปลดปล่อยทางอารมณ์ แต่โซเชี่ยลเน็ตเวิร์กคือพื้นที่สาธารณะซึ่งทุกคนเห็นได้หมด กลายเป็นความพลาดอย่างแรง เพราะสิ่งที่ตามมาคือคุณจะเสียเพื่อน และเสียภาพพจน์แน่ๆ
"เสียใจ" ซึ่งหากคุณรับเอาความเสียใจนั้นๆ จะโดยตั้งใจหรือไม่ มาปรับเปลี่ยนให้เป็นบทเรียนได้ มันก็จะเกิดประโยชน์ แต่ถ้ายังคงวนเวียนอยู่กับความผิดพลาดซ้ำซาก สิ่งที่คุณจะเสียแน่ๆ คือ
"เสียโอกาส" คนเรามี 24 ชั่วโมงเท่ากันทุกวัน แต่ผู้ที่ใช้ไปโดยเปล่าประโยชน์ เสียทั้งเวลา สุขภาพ ความสัมพันธ์ แถมยังเสียใจที่ต้องเสียโอกาส ซึ่งเรานั่นแหละเป็นคนเลือกเอง

ที่มา : https://www.facebook.com/Is1